โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์ กับความสามารถในการทำงานได้ และทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือเมื่อมีการงัดที่ประตูหรือหน้าต่าง มีวิธีการศึกษา 2 ตอน คือ ศึกษาและออกแบบระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือและทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน ผลการศึกษาพบว่า 1.) การทำงานเบื้องต้นของอุปกรณ์ ได้แก่ วงจรควบคุมระบบป้องกันขโมย รีเลย์ โทรศัพท์มือถือ NOKIA รุ่น 1280 วงจรลำโพง วงจรระบบแปลงไฟ ไซเลน ไฟกระพริบ แป้นตัวเลข (keypad) แบตเตอรี่ สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานทำให้ระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือทำงานได้ 2.) ประสิทธิภาพในการใช้งานของระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือ กับจุดที่ติดตั้ง เมื่อถูกงัด จากการทำงาน 25 ครั้ง และ50 ครั้ง มีความถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 99.60 และร้อยละ 99.80 ตามลำดับ 3.) ความสามารถในการใช้งานของระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือ จากการทดสอบระบบการโทรแจ้งเตือนในระบบการโทร GSM 900/1800/1900 เมกกะเฮริตซ์ จำนวน 30 ครั้ง กับตำแหน่งที่ติดตั้ง เมื่อถูกงัด ทุกระบบการโทรมีความถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 100.00 4.) ความสามารถในการใช้งานของระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือ จากการทดสอบระยะการส่งสัญญาณแจ้งเตือนที่ติดตั้งระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่ระยะทาง 500 เมตร 1 กิโลเมตร 5กิโลเมตร 10กิโลเมตร 50กิโลเมตร และ100กิโลเมตร กับการใช้งานเมื่อติดตั้งที่ประตูถูกงัด จำนวน 10 ครั้ง พบว่าการส่งสัญญาณแจ้งเตือนของระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือสามารถใช้งานได้ และทำงานได้ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 98.30 และไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 1.70 และ 5.) การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่นำระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือมาใช้พบว่ามีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ในด้านของระบบป้องกันขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือแจ้งโทรเข้าเมื่อมีขโมยงัดบ้าน และมีความอุ่นใจไม่ต้องกังวลกับการเฝ้าระวังขโมยงัด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณัฏฐพงศ์ พิลาแดง

  • ประกิจ แสงรัตน์

  • ปิยะโชติ เวชกรณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • สิ่งประดิษฐ์

  • โทรศัพท์การป้องกัน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์