โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเอทานอลและปุ๋ย EM จากเนื้อเปลือกสับปะรด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กัลยารัตน์ ประทุมศรี

  • จิรนันท์ โชติมณี

  • วนิสา แสงแก้ว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสทิงพระวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ปุ๋ย EM

  • ปุ๋ย การหมัก

  • ผลไม้ การสกัด

  • สับปะรด การสกัด

  • เอทานอล

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องเอทานอลและปุ๋ย EM จากเนื้อเปลือกสับปะรด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลา อัตราส่วน/น้ำ และปริมาณแป้งข้าวหมาก ที่เหมาะสมในการหมักเนื้อเปลือกสับปะรด ที่จะนำมากลั่นเป็นเอทานอลให้ได้ปริมาณมากที่สุด ศึกษาการนำเอทานอลที่กลั่นได้ไปใช้ประโยชน์ ศึกษาลักษณะของปุ๋ย EM จากกากเนื้อเปลือกสับปะรดเปรียบเทียบกับปุ๋ย EM ที่ทำจากผลไม้ชนิดอื่น และศึกษาการนำปุ๋ย EM จากกากเนื้อเปลือกสับปะรดไปฉีดพ่นกล้าไม้เปรียบเทียบกับปุ๋ย EM ที่ทำจากผลไม้ชนิดอื่น จากการทดลองพบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมในการหมักเนื้อเปลือกสับปะรด คือ 4 วัน อัตราส่วนที่เหมาะสมของเนื้อเปลือกสับปะรดต่อน้ำ คือ 800 : 200 และปริมาณแป้งข้าวหมากที่เหมาะสม คือ 0.4g/ชุด เมื่อนำไปกลั่นลำดับส่วนโดยควบคุมอุณหภูมิการกลั่นที่ 78 องศาเซลเซียส จะได้ปริมาณเอทานอลมากที่สุด 36 cm3 เอทานอลจากเนื้อเปลือกสับปะรด เมื่อนำมาใส่ในตะเกียงสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง พบว่าตะเกียงจุดไฟติดดี สามารถต้มน้ำ 100 cm3 ในบีกเกอร์ให้เดือดได้ในเวลา 5 นาที และยังใช้เป็นตัวทำละลายได้ดี สามารถสกัดสีจากดอกอัญชัญ ยาเส้น ใบสะเดา และใบตะไคร่หอม ได้ จากการศึกษาลักษณะของปุ๋ย EM จากกากเนื้อเปลือกสับปะรดเปรียบเทียบกับปุ๋ย EM ที่ทำจากผลไม้ชนิดอื่น พบว่าของเหลวที่ได้จากการหมักปุ๋ย EM จากเนื้อเปลือกสับปะรด มีลักษณะใกล้เคียงกับปุ๋ย EM ที่หมักจากมะละกอและฟักทอง และเมื่อนำปุ๋ย EM จากเนื้อเปลือกสับปะรดไปฉีดพ่นต้นกล้าไม้ทุกชนิด พบว่าต้นกล้าไม้ทุกชนิดเจริญเติบโตได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ย EM จากมะละกอและฟักทอง จึงสามารถใช้เป็นแนวทางในการผลิตปุ๋ย EM เร่งการเจริญเติบโตของกล้าไม้ได้ ซึ่งถือเป็นการช่วยลดต้นทุนจากการซื้อปุ๋ยเคมี