โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเร่งการยืดตัวของหลอดรากเมล็ดตาลโตนดโดยวิธีการแช่น้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พรศิริ เจริญเอกลาภ

  • ยานุมาศ บุญประเสริฐ

  • เจนจิรา ฉัตรจินดา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสทิงพระวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ตาลโตนด การยืดตัว

  • ตาลโตนด การเพาะ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความยาวในการยืดตัวของหลอดรากตาลโตนดเมื่อแช่ด้วยสารเคมีและแช่ด้วยน้ำที่อุณหภูมิต่าง ๆ โดยแบ่งการทดลองเป็น 7 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาความยาวในการยืดตัวของหลอดรากเมล็ดตาลโตนด เมื่อแช่ด้วยสารเคมีต่าง ๆ พบว่า เมื่อแช่หลอดรากเมล็ดตาลโตนดที่แรกงอกลงน้ำ หลอดรากจะยืดตัวได้เร็วที่สุด การทดลองที่ 2 ศึกษาความยาวในการยืดตัวของหลอดรากตาลโตนด เมื่อแช่ด้วยน้ำชนิดต่าง ๆ พบว่าหลอดรากตาลโตนดที่แรกงอกจะยยืดตัวได้เร็วในน้ำทุกชนิด (ซึ่งมีค่า PH ระหว่าง 6.8 – 7.2) การทดลองที่ 3 ศึกษาความยาวในการยืดตัวของหลอดรากเมล็ดตาลโตนด เมื่อว่างขวดแช่หลอดรากที่อุณหภูมิต่าง ๆ กัน พบว่าหลอดรากจะยืดตัวได้ดีที่ T 38 - 40 องศาเซลเซียล (กลางแดดจ้า) การทดลองที่ 4 ศึกษาความยาวในการยืดตัวของหลอดรากเมล็ดตาลโตนด เมื่อวางขวดแช่หลอดรากทำมุมต่าง ๆ กัน พบว่า เมื่อวางขวดแช่หลอกรากทำมุม 60 - 90 องศาเซลเซียล หลอดรากจะยืดตัวได้ดีที่สุด การทดลองที่ 5 เปรียบเทียบความยาวในการยืดตัวของหลอดรากตาลโตนด เมื่อแช่หลอดรากโดยวิธีไม่ตัดและตัดปลายหลอดราก พบว่า การตัดปลายหลอดรากจะทำให้หลอดรากไม่ยืดตัว และเน่าเปื่อยในที่สุด การทดลองที่ 6 ศึกษาการเจริญของคัพภะหลอดรากตาลโตนดระยะต่าง ๆ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า เมื่อผ่าหลอดรากตาลโตนด คัพภะจะอยู่ตำแหน่งปลายสุดของหลอดราก มีขนาดเล็ก เมื่ออายุ 90 วัน ส่วนปลายของหลอดรากขยายขนาดโตขึ้นมาก เห็นใบเลี้ยงเจริญชูขึ้นสู่ข้างบนได้ชัดเจน มีระบบรากฝอยเจริญดี การทดลองที่ 7 ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดหลอดรากตาลโตนดมาเพาะให้เจริญเป็นต้นกล้า พบว่า ระยะการแช่หลอดรากตั้งแต่ 80 -100 วันมีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากเป็นระยะที่คัพภะสร้างรากแก้วและระบบรากฝอยได้ดี