โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องไฟฟ้าจากน้ำทะเล

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาเพื่อนำน้ำทะเลมาใช้เป็นสารอิเลคโตรไลท์ในเซลล์ไฟฟ้าเคมี โดยใช้แผ่นสังกะสี และแผ่นทองแดงเป็นขั้วไฟฟ้า เนื่องจากน้ำทะเลประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งสามารถแตกตัวเป็นไอออน หรือประจุไฟได้ดี จากการทดลองนำน้ำทะเลมาผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้หลักการของเซลล์ไฟฟ้าเคมีพบว่า 1.ค่าความเค็มของน้ำทะเลจากแหล่งต่าง ๆ รอบเกาะภูเก็ต มีค่าระหว่าง 28-34 ppt ซึ่งน้ำทะเลมีความเค็มที่สุดคือปากอ่าวปอ 2.ค่าความเค็มของน้ำทะเล ทำให้เกิดค่าความต่างศักย์และไฟฟ้าต่างกัน โดยค่าความต่างศักย์และค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามค่าความเค็ม 3.โลหะแต่ละคู่ที่นำมาใช้ทำขั้วไฟฟ้า ทำให้เกิดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าต่างกัน โดยโลหะที่มีค่าความต่างศักย์สูงสุดได้แก่ ทองแดง-สังกะสี 4.ขนาดพื้นที่ผิวของแผ่นโลหะที่ใช้ทำขั้วไฟฟ้า ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า แต่มีผลทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเมื่อใช้แผ่นโลหะที่มีขนาดพื้นที่ผิวมากขึ้น 5.เมื่อนำเซลล์ไฟฟ้าหลาย ๆ เซลล์มาต่อกันในแบบที่ต่างกันพบว่า แบบอนุกรม จะทำให้ค่าความต่างศักย์รวมและค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรเพิ่มมากขึ้น 6.เซลล์ไฟฟ้าจากน้ำทะเลสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าปริมาณน้อย ๆ เช่น นาฬิกา เครื่องคิดเลข ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเวลาหลายวัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กมลวัน ลิ่มสกุล

  • ทักษิณา กำลังรูป

  • อาจรีย์ กุลวรางกูร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • น้ำทะเล

  • ไฟฟ้า

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์