โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการเพิ่มคุณภาพผลมังคุดเพื่อการส่งออก
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิตมังคุดคุณภาพ โดยการทดลองที่ 1 ศึกษาปริมาณฟอสเฟตที่ได้จากเปลือกหอยแครง เปลือกหอยชักตีนและเปลือกหอยหวาน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่เผาและกลุ่มที่ไม่ผ่านการเผา ทดสอบกับสารละลาย ซิลเวอร์ไนเตรท พบว่าหอยแครงเผามีปริมาณฟอสเฟตสูงสุด รองลงมาคือเปลือกหอยแครงที่ไม่ผ่านการเผา และเปลือกหอยชักตีนเผา ตามลำดับ นำผลที่ได้มาทดสอบคุณสมบัติในการปรับสภาพ pH ของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นมังคุด ผลการทดลองที่ 2 พบว่าเมื่อใช้เปลือกหอยแครงเผาควบคู่กับปุ๋ยเคมีสามารถปรับค่า pH ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นมังคุดได้ ผลการทดลองที่ 3 พบว่าเปลือกหอยแครงสามารถดูดซับน้ำได้ถึง 78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีผลต่อภาวะการออกดอกของต้นมังคุดดีกว่าการใช้ซิลิกาซึ่งสามารถดูดซับน้ำได้เพียง 62.5 เปอร์เซ็นต์ และการทดลองที่ 4 พบว่าฟอสเฟตที่ได้จากเปลือกหอยแครงเผาเมื่อนำมาใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน 3:2 มีผลต่อการเพิ่มขนาดและคุณภาพของผลมังคุด ผลผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐานสินค้าส่งออก โดยต้นทุนการผลิตต่ำลงและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จันจิรา ประภากร
มณฑล พรดวงประทีป
อรฤทัย พรหมสงค์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิต พรหมสงค์
ภิเษก เจนการ
มณฑล มณีพงษ์
วรรณี หิริ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
มังคุด
เปลือกหอย การนำกลับมาใช้ใหม่
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์