โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทดสอบประสิทธิภาพในการดูดความร้อนของสมุนไพรที่ใช้ทำยากระทุ้งผิวภายนอก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กรรณิการ์ พิมปา
วิมลมณี หมื่นชัยกุล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทวิทย์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ยาการทำ
สมุนไพรการทดสอบ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาการทดสอบประสิทธิภาพในการดูดความร้อนของสมุนไพรที่ใช้ทำยากระทุ้งผิวภายนอก ทำการทดลองโดย ตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลของสมุนไพรแต่ละชนิด สมุนไพรที่ใช้ยากระทุ้งผิวภายนอก, ตอนที่ 2 การศึกษาประสิทธิภาพในการดูดความร้อนของยากระทุ้งผิวภายนอกที่มีการเพิ่มปริมาณส่วนผสมแต่ละอย่าง, ตอนที่ 3 การศึกษาประสิทธิภาพในการดูดความร้อนของยากระทุ้งผิวภายนอกที่มีการลดปริมาณส่วนผสมแต่ละอย่าง, ตอนที่ 4 การศึกษาประสิทธิภาพในการดูดความร้อนของยากระทุ้มผิวภายนอกที่มีการเพิ่มปริมาณของยาเป็นจำนวนเท่า (ศึกษาต่อจากผลการทดลองที่1, 2 และ 3) โดยทำการทดลองจากสมุนไพร 10 ชนิดคือ มะลิ ขี้เหล็ก มะกอก ข้าวเจ้า ชุมเห็ดไทย ชุมเห็ดเทศ หญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าตีนนก และหญ้าขัดใบยาว วิเคราะห์ผลโดย ตอนที่ 1 สถิติที่ใช้คือ Independent t-test และ ตอนที่ 2-4 สถิติที่ใช้คือ One-way ANOVA (Duncan) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ผลการศึกษาประสิทธิภาพในการดูดความร้อนของสมุนไพรที่ใช้ทำยากระทุ้งผิวภายนอกพบว่า ยากระทุ้งผิวภายนอกสามารถดูดความร้อนได้จริง และต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ การทดสอบประสิทธิภาพในการดูดความร้อนของยากระทุ้งผิวภายนอกสูตรที่มีการเพิ่มพืชแต่ละชนิด (ตอนที่ 2) พบว่าหญ้าคาสามารถลดความร้อนได้ดีที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองตอนที่ 3 ซึ่งพบว่าสูตรที่ลดหญ้าคาทำให้ประสิทธิภาพในการดูดความร้อนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน นอกจากนี้การเพิ่มจำนวนเท่าของยากระทุ้งผิวภายนอกพบว่าประสิทธิภาพในการดูดความร้อนดีขึ้นตามลำดับ