โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาสารสกัดจากหางไหลแดงในการสลบปลาน้ำจืดที่สำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กรนภา ผาอิ่น
ณิชากร สอนจิตต์
สิริวิมล จิตต์แจ้ง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
aม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปลาน้ำจืด
หางไหลแดง สารสกัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารสกัดจากธรรมชาติที่มีสมบัติในการสลบปลา คือสารสกัดจากหางไหลแดงเพื่อเสนอเป็นแนวทางเลือกหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบสภาวะต่าง ๆคือ ตัวทำละลายที่เหมาะสม ส่วนประกอบของหางไหลแดงที่เหมาะสม และความเข้มข้นที่เหมาะสม เพื่อสกัดสารจากหางไหลแดงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการสลบปลาน้ำจืดที่สำคัญทางเศรษฐกิจจำนวน 4 กลุ่มคือ 1.ลูกปลานิลที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 5 กรัม 2.ปลานิลขนาดลงกระชังที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 150 กรัม 3.ลูกปลาดุกที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 10 กรัม และ 4.ปลาดุกขนาดลงกระชังที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 150 กรัม ที่ได้จากฟาร์มบ่อเลี้ยงปลาแหล่งเดียวกัน โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสลบปลาจากเวลาเฉลี่ยในการเหนี่ยวนำให้สลบ (นาที) และระยะเวลาเฉลี่ยในการฟื้นสลบ (นาที) พบว่า สารสกัดโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ที่ระยะเวลาสกัดที่ 24 ชั่วโมง ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 3% v/v คือสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการสลบปลานิลที่อัตราการรอดตาย 100% โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยของการเหนี่ยวนำให้ลูกปลานิลและปลานิลขนาดลงกระชังสลบที่เวลา 4.34+-0.42 และ 3.13+-0.52 นาทีตามลำดับ และใช้ระยะเวลาเฉลี่ยของการฟื้นสลบที่เวลา 24.05-+0.45 และ 26.20+-0.58 นาที ตามลำดับ และที่ระดับความเข้มข้น 4% คือสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการสลบปลานิลที่อัตราการรอดตาย 100 % โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยของการเหนี่ยวนำให้ลูกปลาดุกและปลาดุกขนาดลงกระชังสลบที่เวลา 3.28+-0.25 และ 2.24+-0.17 นาทีตามลำดับ และใช้ระยะเวลาเฉลี่ยของการฟื้นสลบที่เวลา 22.54+-0.56 และ 25.34+-0.35 นาที ตามลำดับ