โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของกรดจากน้ำสัปปะรดต่อคุณภาพของยางแผ่น

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้ได้นำน้ำสัปปะรดมาประยุกต์ใช้กับการทำแผ่นยางพารา โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบเวลาในการแข็งตัวของแผ่นยางพารา ตอนที่ 1 นำน้ำยางพารามากรองด้วยเครื่องกรองลวดเบอร์ 40 และเบอร์ 60 แล้วตวงน้ำยางพาราใส่ถาดๆละ 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และน้ำสะอาด 2,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในถาดที่ 1 ใช้กรดฟอร์มิกชนิดความเข้มข้น 90 เปอร์เซนต์ปริมาตร 320 ลูกบาศก์เซนติเมตรใช้น้ำสัปปะรดแทนกรดฟอร์มิกโดยใส่ถาดที่ 2 -5 ปริมาตร คือ 640, 960, 1,280 และ 1,600ลูกบาศก์เซนติเมตรเกิดการแข็งตัวในเวลา 32, 32, 30, 28 นาที ตอนที่ 2 นำยางพาราจากการทดลองตอนที่ 1 ทั้ง 5 แผ่น มาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า แล้วใช้ไม้หนีบปลายแผ่นทั้งสองด้าน แล้วนำลวดที่มีลักษณะเป็นห่วงมาคล้องกับปลายไม้หนีบตัวล่าง นำตุ้มเหล็กขนาดต่าง ๆมาคล้องกับห่วง และเพิ่มจำนวนตุ้มเหล็กจนกว่าแผ่นยางเกือบขาดเพื่อคำนวณหาแรงที่กระทำในสูตรความเค้น จากนั้นนำแผ่นยางมาวัดความยาวด้วยไม่บรรทัดเพื่อหาความยาวปลายในสูตรความเครียด แล้วนำทั้งสองไปหาค่ามอดูลัสสภาพยืดหยุ่น เมื่อทดสอบการเกิดราและสีของยางแผ่นเมื่อเวลาผ่านไป 30 วัน พบว่ายางแผ่นที่ใช้น้ำสัปปะรด 1,600 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะไม่เกิดราและสีของยางอ่อน เหมือนใช้กรดฟอร์มิก แสดงว่าการใช้น้ำสัปปะรดปริมาณมาก ๆก็จะทำให้ได้คุณภาพยางแผ่นในระดับดีเช่นกัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จีรนันท์ ทานสุพรรณ

  • ตรีรัตน์ มีทอง

  • สรีรัตน์ ฟองสี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดที่รางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ยางแผ่น

  • สัปปะรด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์