โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องMODEL ปู
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิไลลักษณ์ เอี๊ยะไพบูลย์
มลธิรา เตปิน
สุพัตรา ปัญญารัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปูนาเป็นที่มาของคำกล่าว ปูขาเก แม่ปูสอนลูกปู ซึ่งมาจากความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ที่คิดว่าปูเดินไม่ตรง ผู้จัดทำสนใจการเดินของปูโดยตั้งสมมุติฐานว่าปูเดินไม่ตรง เริ่มต้นศึกษาตอนที่ 1 โครงสร้างภายนอกของปูด้วยการสังเกตลักษณะกระดองที่หลัง ด้านท้อง และวัดความยาวขาปู และหาค่าเฉลี่ย ขาที่2 ยาวที่สุด ขาที่3 และขาที่ 1 ยาวน้อยลงมาตามลำดับ ศึกษาจังหวะการก้าวของปูทั้งซ้ายและขวาพบว่า ปูเรียงลำดับการก้าวขาเป็นจังหวะที่แน่นอน โดยมีการงอขาแต่ละขาของปู พบว่า ขาปูแต่ละขาวางเป็นแนวเส้นตรง ศึกษาการเดินข้ามสิ่งกีดขวางสังเกตจากการเดินข้ามฟิวเจอร์บอร์ด พบว่าปูเดินข้ามแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดขนาด 2×4 และ 6×8 ซม. แต่ไม่เดินข้ามขนาด 10×10 ซม. ศึกษาการเดินบนพื้นดินเรียบเปียกและแห้ง และบริเวณที่มีหินเปียกและแห้ง สังเกตจากการเดินของปูใต้เชือกฟางที่ขึงไว้เป็นเส้นตรง และสังเกตจากแนวหินที่ทำไว้เป็นเส้นตรง พบว่าปูเดินเป็นเส้นตรงทั้งตามแนวเส้นเชือกและในแนวเฉียง และเดินตามแนวช่องหินที่วางไว้ที่มีลูกหินขนาดใหญ่ จากผลการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ สรุปไดว่าปูเดินเป็นเส้นตรง มีจังหวะการวางขาที่แน่นอน มีโครงสร้างของขาพร้อมกับการเดินของปูที่ทำให้ตัวของปูสามารถเคลื่อนข้ามสิ่งกีดขวางได้ ซึ่งทางผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงโครงสร้างของปู การก้าวขา รูปแบบการเดิน การเดินได้หลายพื้นผิวที่น่าทึ่งของปูทางผู้จัดทำจึงทำการสร้างโมเดลปูขึ้นเพื่อจำลองการวางขาของปูที่เห็นแล้วเข้าใจง่าย ซึ่งนำผลการศึกษามาสร้างโมเดลปูโดยมีลักษณะการเดินที่เหมือนปู และ เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมได้จริงในอนาคต