โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของกระแสไฟฟ้าต่อการแตกหน่อของเซลล์ยีสต์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธีระพงษ์ กิติ

  • พิเชษฐ์ เป็งขัน

  • ศุภชัย มาตั๋น

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พรพิพัฒน์ เลขธรากร

  • รุจิเรศ เลขธรากร

  • ลดาวัลย์ ตันตราวัฒน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนจอมทอง

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ยีสต์กสารแตกหน่อ

  • ไฟฟ้ากระแส

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ผลของกระแสไฟฟ้าต่อการแตกหน่อของเซลล์ยีสต์ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อการแตกหน่อของเซลล์ยีสต์ ซึ่งเซลล์ยีสต์เป็นสัตว์เซลล์เดียวที่สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ มีประโยชน์ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตแอลกอฮอล์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ต้องการมากขึ้น ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารและด้านพลังงานทดแทน ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณยิสต์ให้มากขึ้นเพียงพอต่อความต้องการในการใช้ประโยชน์ คณะผู้จัดทำต้องการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนของยีสต์จากการแตกหน่อ จึงทดลองใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นการเจริญเติบโตของยีสต์ โดยมีขั้นตอนการทดลอง ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาอัตราส่วนสารละลายยีสต์ ด้วยการเจือจางสารละลายยีสต์ กับน้ำกลั่น เพื่อหาจำนวนที่เหมาะสมต่อการนับ ในอัตราส่วน ดังต่อไปนี้ อัตราส่วน1:20 มียีสต์อยู่จำนวนมากไม่สามารถนับได้ อัตราส่วน 1:50 มียีสต์อยู่จำนวนที่เหมาะสมต่อการนับและ อัตราส่วน 1:100 มียีสต์อยู่จำนวนน้อยมาก เมื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโต โดย ก่อนการนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เซลล์ยีสต์ พบว่า ที่ความเข้มข้น 1:50 ในพื้นที่ 0.01 mm2 สารละลายยีสต์ จำนวน 0.143 cm3 เซลล์ยีสต์สามารถแตกหน่อโดยเฉลี่ยได้เร็วกว่า 1:20, 1:100 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์จะพบว่ามีระยะในการแตกหน่อของเซลล์ยีสต์มากขึ้น ในเวลาที่เพิ่มขึ้นทุกๆ1ชั่วโมง ตอนที่ 2 ศึกษาการนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เซลล์ ที่มีค่าความต่างศักย์ พบว่า กระแสไฟฟ้า 0.3 Vจะมีการแตกหน่อของเซลล์ยีสต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.82 กระแสไฟฟ้า 0.6 V เข้าสู่เซลล์ยีสต์ พบว่าจะมีการแตกหน่อของเซลล์ยีสต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.33 กระแสไฟฟ้า 0.9 V เข้าสู่เซลล์ยีสต์ พบว่าจะมีการแตกหน่อของเซลล์ยีสต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.30 กระแสไฟฟ้า 1.2 V เข้าสู่เซลล์ยีสต์ พบว่าจะมีการแตกหน่อของเซลล์ยีสต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 กระแสไฟฟ้า 1.5 V เข้าสู่เซลล์ยีสต์ พบว่ายีสต์ลดจำนวนลง ร้อยละ -6.54 นั่นคือ เมื่อใช้กระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ 0.9 V จะช่วยเซลล์ยีสต์เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นมีการแตกหน่อได้รวดเร็วกว่าปกติ ตอนที่ 3 ศึกษาระยะเวลาที่ผ่านกระแสไฟฟ้า พบว่าให้กระแสไฟฟ้าเวลามากขึ้น ยีสต์จะแตกหน่อได้มากขึ้นการทดลองนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำการผลิตได้ผลผลิตที่รวดเร็ว