โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องภูมิประเทศในยุคดึกดำบรรพ์ของท้องถิ่นอำเภอตาคลีโดยอาศัยซากดึกดำบรรพ์และการลำดับชั้นหินเป็นตัวชี้วัด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มัญชรี รางน้อย
วรวุฒิ นันทรักษ์
สุธาริณี เงินนา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ซากดึกดำบรรพ์
ภูมิประเทศ
หิน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานภูมิประเทศในยุคดึกดำบรรพ์ของท้องถิ่นอำเภอตาคลีโดยอาศัยซากดึกดำบรรพ์และการลำดับชั้นหินเป็นตัวชี้วัด ที่ได้ทำการสำรวจศึกษา ณ เขาชอนเดื่อและเขาน้อย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มีที่มาเนื่องจากในท้องถิ่นตำบลตาคลีมีภูเขาหินปูนที่เห็นการลำดับชั้นหินชัดเจนและมีซากดึกดำบรรพ์ที่มีสภาพสมบรูณ์เป็นจำนวนมากทั้งชนิดและปริมาณ เป็นหลักฐานทางธรณีวิทยาที่สามารถบ่งบอกอายุหินและสภาพแวดล้อมในอตีด ของท้องถิ่นที่พบซากดึกดำบรรพ์และการลำดับชั้นหินนั้นได้เป็นอย่างดี มีวัตถุประสงค์หลักของโครงการคือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอายุหินจากซากดึกดำบรรพ์ โดยอาศัยซากดึกดำบรรพ์และลำดับชั้นหินเป็นตัวชี้วัด ผลการศึกษาพบว่าบริเวณเขาทั้งสองเป็นหินตะกอนที่เกิดจากการสะสมตัวในทะเล พบซากดึกดำบรรพ์ขอ งฟิวซูลินิด ฟองน้ำ ปะการัง ไบรโอซัว หอยกาบเดี่ยว หอยกาบคู่ ซึ่งบ่งชี้ถึงภูมิประเทศในยุคดึกดำบรรพ์ของท้องถิ่นอำเภอตาคลี ว่าครั้งหนึ่งเคยอยู่ภายใต้ระดับน้ำทะเล