โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาบางประการของแย้

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาบางประการของแย้ในอำเภอยะหริ่ง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านชีววิทยาและนิเวศวิทยา ทำการเก็บตัวอย่างใน 5 ตำบล ของอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยวิธีการ 3 วิธีคือ การดักจับ การไล่จับ และการขุดด้วยจอบ วิธีการที่เหมาะสมคือ การดักจับ ถ้าต้องการตัวอย่างที่สมบูรณ์ วิธีการที่เหมาะสมคือ การขุดด้วยจอบหรือเสียม แต่จะเป็นการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแย้ ลักษณะของพื้นที่ทำการศึกษา มี 2 ลักษณะ คือ พื้นที่เป็นทราย และพื้นที่เป็นทรายปนร่วน เป็นสวนมะพร้าว อัตราส่วนเพศ พบว่า อัตราส่วนเเพศผู้ต่อเพศเมีย ประมาณ 1 : 2 เพศผู้มีสีข้างลำตัวเป็นสีแสด ส่วนเพศเมียจะมีสีจางกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับความยาว น้ำหนักกับความกว้าง และความกว้างกับความยาว พบว่า ความสัมพันธ์จะมีค่าแปรผันตาม ลักษณะรูอาศัย มี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 มี 3 ทาง 2 รู ทางเข้าปกติและทางออกฉุกเฉิน อีกทางจะเป็นทางหลอก รูปแบบที่ 2 และ 3 จะมีลักษณะเหมือนกันคือ แบบที่ 2 มีทางเข้าปกติและทางออกฉุกเฉิน รูปแบบที่ 3 ทางเข้าและทางออกจะเป็นทางเดียวกัน จะไม่มีรูฉุกเฉิน การออกจากรูอาศัยและการกลับเข้ารูอาศัย จะมีความสัมพันธ์กับการขึ้นของพระอาทิตย์ ลักษณะของภูมิอากาศ และฤดูกาล แย้จะออกจากรูอาศัยในช่วงเช้า ประมาณ 8.00 - 9.00 น. และจะเข้ารูอาศัย ระหว่าง 15.00 - 17.00 น. แย้เป็นสัตว์กินสัตว์และพืช สัตว์ ได้แก่ หนอน มด และแมลงต่าง ๆ ส่วนพืช ได้แก่ ใบพืช ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งที่อยู่อาศัย และการแพร่กระจายของอาหารที่อยู่ในบริเวณนั้น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิสารัตน์ เสมอภพ

  • รอปิอะ สาเหาะ

  • โรฮันนา สาฆะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ดวงรัตน์ หลำโอ๊ะ

  • วีระชัย เรืองช่วย

  • สมศักดิ์ บัวทิพย์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุวรรณไพบูลย์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ชีววิทยา

  • นิเวศวิทยา

  • แย้ สัตว์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์