โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาปริมาณเอทานอลที่ได้จากวัชพืชในนาข้าว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัทราภรณ์ แก้วใหม่
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทชีวภาพภาคเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
นาข้าว
วัชพืช
เอทานอล
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้ใช้วัชพืชในนาข้าวเป็นวัตถุดับในการหมักเอทานอล วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตเอทานอลจากวัชพืชในนาข้าวและศึกษาปัจจัยที่มีผลในการหมักเอทานอลโดยนำวัชพืชในนาข้าว ได้แก่ หญ้านกสีชมพู ผักปราบนา และปอวัชพืช มาไฮโดรไลซ์ในสารสะลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 3M ปริมาณ 600cm3 60 นาที นำวัชพืชที่วัดความเข้มข้นของน้ำตาลได้มากที่สุดไปหมักเป็นเอทานอล โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการหมักเอทานอลดังนี้ ศึกษาปริมาณยีสต์ที่มีผลต่อการหมัก โดยใช้ยีสต์ในการหมัก 20g, 30g และ 40g ศึกษาอุณหภูมิที่มีผลต่อการหมักเอทานอล โดยเติมน้ำที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส 40 องศาเซลเซียส และ 60 องศาเซลเซียส และหมักเป็นเวลา 4 วัน ผลจากการทำการทดลอง พบว่าวัชพืชที่วัดความเข้มข้นของน้ำตาลได้มากที่สุด คือ หญ้านกสีชมพู เมื่อนำไปหมักเป็นเอทานอล พร้อมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการหมักเอทานอล จะเห็นได้ว่าวัชพืชในนาข้าวหรือหญ้านกสีชมพู สามารถนำมาหมักเป็นเอทานอลได้ เป็นแนวทางในการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และยังเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์