โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิติของแผ่นยางพารา ที่ผสมวัสดุจากธรรมชาติ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความต้านแรงดึงของแผ่นยางแต่ละชนิด และเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิติในน้ำยางดิบเมื่อผสมวัสดุจากธรรมชาติ วัสดุที่ใช้ในการทดลองได้แก่ ขี้เลื่อย แกลบ และขุยมะพร้าว โดยผสมวัสดุจากธรรมชาติกับน้ำยางดิบในอัตราส่วนต่าง ๆ พบว่า อัตราส่วน 3:50 กรัม เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด จากนั้นนำมาศึกษาค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิต ของแผ่นยางดิบ แผ่นยางผสมขี้เลื่อย แผ่นยางผสมแกลบ และแผ่นยางผสมขุยมะพร้าว สรุปได้ว่าการผสมแกลบและขี้เลื่อยในน้ำยางพาราสามารถเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตได้มาก เนื่องด้วยลักษณะทางกายภาพของแกลบและขี้เลื่อย มีลักษณะเป็นเหลี่ยม เมื่อผสมกับน้ำยางที่ได้ มีพื้นผิวขรุขระ ส่งผลให้แผ่นยางมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตมากเมื่อเทียบกับแผ่นบางดิบ และเมื่อทดสอบสมบัติทางกายภาพของแผ่นยางดิบ ยางผสมขี้เลื่อย ยางผสมแกลบ และยางผสมขุยมะพร้าว พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิต ค่ามอคูลัสของยังที่ 300% ค่าความต้านทานต่อแรงดึง และค่าระยะยืดก่อนขาด ของแผ่นยางผสมขี้เลื่อย แผ่นยางผสมแกลบ มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเทียกับแผ่นยางดิบ จากการเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ ที่ได้จะเห็นว่า ยางผสมด้วยแกลบและขี้เลื่อย ซึ่งให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตมากขึ้นนั้น ค่าของมอคูลัส ค่าความต้านทานของแรงดึง ก็ยังคงมีค่าที่ใกล้เคียงกับแผ่นยางดิบซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกว่า การผสมวัสดุในแผ่นยางดิบ เพื่อการเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตนั้นจะไม่ทำลายคุณสมบัติของแผ่นยาง ดังนั้นแกลบและขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตในน้ำยางได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการในการผลิตแผ่นยางที่นำไปใช้งานที่ต้องการแรงเสียดทาน อีกทั้งยังเป็นการลดปริมาณในการใช้น้ำยางดิบ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิตรลดา เป็ดทอง

  • บุษยมาส พรหมรัตน์

  • วนิดา ถนิมลักษณ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธวัช แพรกทอง

  • ประภาพร ลิ่มเรืองธรรม

  • สมศักดิ์ กัญจนกาญจน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ยางพารา แผ่น

  • แรงเสียดทาน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์