โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแผ่นฟิล์มย่อยสลายได้เพื่อเก็บรักษาผักกูด
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการเก็บรักษาผักกูดด้วยแผ่นฟิล์มย่อยสลายได้จากแป้ง 4 สูตร ดังนี้ สูตรแผ่นฟิล์มแป้งมันสำปะหลัง สูตรแผ่นฟิล์มมิวซิเลจ สูตรแผ่นฟิล์มไคโตซาน สูตรแผ่นฟิล์มมิวซิเจล-ไคโตซาน โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 2 ชุด จากนั้นศึกษาลักษณะของผักกูดเป็ระยะเวลา 7 วัน ผลที่ได้ คือ การทดลองที่ 1 เก็บรักษาผักกูดที่ห่อด้วยแผ่นฟิล์มที่อุณหภูมิตู้เย็น (5 องศาเซลเซียส) พบว่า ผักกูดที่ห่อด้วยแผ่นฟิล์มมิวซิเจล-ไคโตซาน และแผ่นฟิล์มมิวซิเลจ มีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาสภาพได้ดีที่สุดจนถึงวันที่ 7 ส่วนการทดลองที่ 2 เก็บผักกูดที่ห่อและไม่ห่อด้วยแผ่นฟิล์มที่อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) พบว่า ผักกูดที่ห่อด้วยแผ่นฟิล์มมิวซิเจล-ไคโตซานยังคงรักษาสภาพของผักกูดไว้ได้ถึงวันที่ 7 ศึกษาคุณสมบัติเชิงกล คือ ค่าความทนต่อแรงดึง พบว่า แผ่นฟิล์มมิวซิเลจมีค่าความทนต่อแรงดังมากที่สุด และได้ศึกษาการย่อยสลายของแผ่นฟิล์ม พบว่า แผ่นฟิล์มพลาสติกไม่ย่อยสลาย แผ่นฟิล์มมันสำปะหลังมีการย่อยสลายเร็วที่สุดและมีต้นทุนในการผลิตใกล้เคียงกับแผ่นฟิล์มพลาสติก ดังนั้นแผ่นฟิล์มมันสำปะหลังจึงมีความเหมาะสมในการนำมาห่อผักกูดในด้านของความคุ้มค่าและในด้านของการรรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้ดีที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นัยน์ยภัค วิมลเมือง
ศิริยาภรณ์ แซ่ด่าน
สุภัทชา เปรมทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผักกูด การเก็บรักษา
แผ่นฟิล์ม
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์