โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสีเพ้นท์แก้วจากยางขนุนอ่อน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เกิดขึ้นจากการสังเกตเห็นยางขนุนที่มีลักษณะคล้ายสีเพ้นท์แก้ว ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากสามารถนำมาผลิตสีเพ้นท์แก้วจากยางขนุนได้ก็จะเป็นการลดต้นทุน โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาชนิดของยางพืชที่เหมาะสมในการผลิตสีเพ้นท์แก้ว ยางพืชที่ใช้ คือ ยางขนุน ยางมะละกอ ยางขนุนและยางมะละกอ นำมาผสมกับกาวลาเท็กซ์ เพ้นท์บนกระจกหรือแก้ว ตากแดด 1 สัปดาห์ พบว่ายางขนุนติดกับแก้วดีที่สุด อัตราส่วนของยางขนุนกับกาวลาเท็กซ์ที่ได้ผลดีที่สุด คือ 1 : 2 และเมื่อผสมด้วยสีผสมอาหาร, สีโปสเตอร์และสีน้ำก็จะได้สีสวยงาม และจากการศึกษาหาประสิทธิภาพระหว่างสีเพ้นท์แก้วที่ผลิตขึ้นกับสีเพ้นท์แก้วตามท้องตลาด พบว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรนันท์ นนทะนำ
พิมพ์ชนก แตงน้อย
เด็กณัฐกานต์ การะภักดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วินัย เกียรติอดิศร
สมบูรณ์ แสงประเสริฐ
เฉลิม จันทร์แจ่ม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ขนุน
สีการผลิต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์