โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องปอกอย่างไรให้ผิวสวย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิตรเลขา สุขรวย
พราวดารา หงษ์สามสิบเจ็ด
ภาณุวัฒน์ ห้อธิวงค์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปาริชาติ เนยคำ
รัชนี โสดถานา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผลไม้ การปอก
ผัก การปอก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ทำการศึกษาเกี่ยวกับการปอกอย่างไรให้สวย โดยแบ่งออกเป็น 5 ตอน ตอนที่ 1 เพื่อศึกษาชนิดของสารที่เหมาะสมในการช่วยให้สีผิวของผักและผลไม้สวย ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ในการช่วยให้สีผิวของกระท้อนสวย ตอนที่ 3 เพื่อศึกษาความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ในการให้สีผิวมะเขือสวย ตอนที่ 4 เพื่อศึกษาความเข้มข้นของสารละลายน้ำทรายที่เหมาะสมในการให้ผิวของหัวปลีสวย ตอนที่ 5 เพื่อศึกษาการทำปฏิกิริยาระหว่างผักและผลไม้กับก๊าซออกซิเจน จากผลการทดลองพบว่า สารที่เหมาะสมในการช่วยให้ผิวของกระท้อน กล้วย แอปเปิ้ล มะเขือ มันเทศ เปลือกมะพร้าวอ่อน และหัวปลีสวย ได้แก่ สารละลายโซเดียมคลอไรด์ น้ำมะพร้าว น้ำ และสารละลายน้ำตาลทราย สามารถช่วยยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาระหว่างผักและผลไม้กับก๊าซออกซิเจนในอากาศซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวของผักและผลไม้ไม่สวย ส่วนในด้านความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ทำเหมาะสมในการช่วยให้สีผิวของกระท้อนสวยมีความเข้มข้นร้อยละ 10 มองเห็นสีผิวของผลกระท้อน 26.43 cm สามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาระหว่างผิวของกระท้อนกับก๊าซออกซิเจน ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ที่สามารถทำให้ผิวของมะเขือสวย มีความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยสามารถมองเห็นสีผิว 20.56 cm ส่วนสารละลายที่น้ำตาลทราบเหมาะสมในการช่วยให้สีผิวของหัวปลีสวยมีความเข้มข้นร้อยละ 10 สามารถมองเห็นสีผิว 25.43 cm จากการศึกษาการทำปฏิกิริยาระหว่างผักและผลไม้กับก๊าซออกซิเจน พบว่า สีผิวของกระท้อน กล้วย แอปเปิ้ล มะเขือ มันเทศ เปลือกมะพร้าวอ่อน และหัวปลี ก่อนและหลังทำปฏิกิริยามีความแตกต่างกัน แสดงได้ว่าก๊าซออกซิเจนเป็นสาเหตุทำให้สีผิวของผักและผลไม้เปลี่ยนไปหลังจากการปอกเปลือกออก