โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของสารสกัดจากพืชวงศ์ทานตะวัน (Compositae) ในการป้องกันเพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Nephotettix virescens(Distant)) และผลกระทบต่อตัวห้ำบางชนิด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พีรพงษ์ ตันติวงศ์
สุนันทา จันทร์หอม
เกศวดี พึ่งเกษม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐกานต์ แสงอรุณ
นิรันดร์ เหลืองสวรรค์
สุริยา โก้พิมาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
พืชวงศ์ทานตะวันสารสกัด
เพลี้ยการป้องกัน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ผลของสารสกัดจากพืชวงศ์ทานตะวัน (Compositae) ในการป้องกันเพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Nephotettix virescens(Distant)) และผลกระทบต่อตัวห้ำบางชนิด โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบชนิดของพืชวงศ์ทานตะวัน (Compositae) ที่มีผลต่อการป้องกันเพลี้ยจักจั่นสีเขียวบนต้นข้าวโดยใช้พืช 4 ชนิด ได้แก่ กระดุมทอง สาบเสือ กระเม็ง และตีนตุ๊กแก พบว่า สารสกัดจากตีนตุ๊กแก ทำให้จำนวนการตายของเพลี้ยจักจั่นสีเขียวเกิดขึ้นมากที่สุด การทดลองที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบความเข้มข้นของสารสกัดจากตีนตุ๊กแก ที่มีผลต่อการป้องกันเพลี้ยจักจั่นสีเขียวบนต้นข้าวโดยใช้ความเข้มข้น 10, 100, 1000, 10000 ppm พบว่า ความเข้มข้นของสารสกัดจากตีนตุ๊กแก ในความเข้มข้น 10000 ppm ทำให้จำนวนการตายของเพลี้ยจักจั่นสีเขียวบนต้นข้าวเกิดขึ้นมากที่สุด การทดลองที่ 3 ศึกษาผลกระทบของสารสกัดจากตีนตุ๊กแกที่มีผลต่อตัวห้ำบางชนิดของเพลี้ยจักจั่นสีเขียวบนต้นข้าว โดยใช้ตัวห้ำด้วงเต่าลาย 5 วัย คือ ตัวอ่อนวัยที่1, 2, 3, 4 และ 5 พบว่า สารสกัดจากตีนตุ๊กแก ไม่มีผลต่อจำนวนการตายของด้วงเต่าลายในวัยที่ 3, 4 และ 5 แต่มีผลกระทบกับวัยที่ 1 และ 2