โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการกำจัดหอยเชอรี่ด้วยฝักคูณ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จุดประสงค์ของโครงงานครั้งนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพน้ำหมักฝักคูณในตัวทำละลายต่าง ๆ ในการกำจัดหอยเชอร์รี่ เพื่อศึกษาอัตราส่วนตัวทำละลายในน้ำหมักฝักคูณที่มีผลต่อการกำจัดหอยเชอรี่ ได้ และเพื่อศึกษาการเจือจางน้ำหมักฝักคูณที่ยังสามารถกำจัดหอยเชอรี่ได้และการศึกษาผลกระทบของน้ำหมักฝักคูณที่มีต่อปลาและปูในนาข้าว มีการกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพน้ำหมักฝักคูณในตัวทำละลายต่าง ๆ ตอนที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนตัวทำละลายในน้ำหมักฝักคูณที่มีผลต่อการจำกัดหอยเชอรี่ได้ตอนที่ 3 ศึกษาการเจือจางน้ำหมักฝักคูณที่ยังสามารถกำจัดหอยเชอรี่ได้และศึกษาผลกระทบของน้ำหมักฝักคูณที่มีต่อปลาและปูในนาข้าว จากการรทดลองสามารถสรุปผลได้ว่าเราสามารถผลิตน้ำหมักฝักคูณสำหรับการจำจัดหอยเชอรี่ได้โดยการนำฝักคูณแก่ปริมาณ 1 กิโลกรัมมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปผสมในตัวทำละลายที่เป็นกรดอะซิติก 5 % ปริมาณ 0.50 ลิตร แอลกฮอล์ 40 % ปริมาณ 0.50 ลิตร และเติมน้ำกลั่นหรือน้ำต้มสุกลงไป 1 ลิตร นำไปหมักในภาชนะปิดสนิทเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพจากฝักคูณมีประสิทธิภาพในการทำให้หอยเชอรี่ตายในเวลา 12.39 นาที เมื่อนำน้ำหมักที่ได้ไปเจือจางที่ความเข้มข้น 70 % โดยปริมาตร สารละลายยังคงมีประสิทธิภาพในการกำจัดหอยเชอรรี่ได้เช่นเดิมแต่ต้องใช้เวลานานขึ้นประมาณ 20.32 นาที จึงจะทำให้หอยเชอรี่ตายซึ่งเป็นค่าเจือจางที่สุดที่ใช้ได้ผลอย่างน่าพอใจกับการรอให้สารออกฤทธิ์ และนำน้ำหมักฝักคูณที่ได้นั้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อปูนาเลยเพราะจากการทดลอง 3 ชั่วโมง ปูนาไม่ตาย ส่วนผลกระทบที่มีต่อปลานั้นหากปลาอยู่นานในความเข้มข้นนี้จะทำให้ปลามีอาการเซื่องซึมเล็กน้อย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธนชาติ นพนรินทร์

  • ปวีณา นพนรินทร์

  • รสธร อุ่นใจ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบ้านแก่งวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนล่าง

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • คูณ

  • หอยเชอรี่ กำจัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์