โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องเก็บเกี่ยวผลไม้รุ่น ส.ร.น.1

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วิภาวี เที่ยงจรรยา

  • สุพัชญา นามศิริพงศ์พันธุ์

  • อาจารี ทองใบ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ฐิตารีย์ พงษ์ทองเจริญ

  • อนงค์ ศศิธรานนท์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุรนารีวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • เกษตรกรรม

  • เครื่องจักรกลการเกษตร

  • เครื่องเก็บผลไม้

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องเก็บเกี่ยวผลไม้เป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์จุดมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อหาแนวทางเก็บเกี่ยวผลไม้ที่ใช้งานสะดวก และทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ไม่มีตำหนิอื่นๆที่จะส่งผลต่อราคาผลผลิตผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์จึงได้ค้นคว้าและประดิษฐ์เครื่องมือเก็บเกี่ยวผลไม้โดยดัดแปลงจากตะกร้อเก็บเกี่ยวผลไม้และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นโดยมีขั้นตอนดังนี้ ตอนที่1 ออกแบบลักษณะเครื่องมือที่เก็บเกี่ยวผลไม้ และประดิษฐ์เครื่องมือเก็บเกี่ยวผลไม้ที่มีลักษณะคล้ายตะกร้อสอยผลไม้และเพิ่มประสิทธิการทำงานของเครื่องมือโดยมีสายเบรกจักรยานเป็นสายส่งกำลังเมื่อกำคันเบรกใบมีดบริเวณปลายตะกร้อจะสะบัดและตัดขั้วผลไม้ ตอนที่2 ทดลองประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นปรากฎว่าเครื่องมือที่ควบคุมการตัดโดยสายเบรกมีประสิทธิภาพดีกว่าตะกร้อสอยผลไม้ทั่วไป และรวบรวมผลการทดลอง เพื่อหาแนวในการพัฒนาเครื่องมือ ตอนที่ 3ทำการทดลองเพื่อที่จะหาวัสดุที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งส่วนที่มีความต้องการพัฒนาออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ด้ามจับ 2.ใบมีดและ 3.ที่รองรับผลไม้และเลือกใช้มุ้งพลาสติกเป็นวัสดุในการรองรับ ตอนที่4 รวบรวมผลการทดลองที่ได้และออกแบบเครื่องมือเก็บเกี่ยวเป็นครั้งที่ 2 โดยพัฒนารูปแบบและกลไกในการทำงานมาจากเครื่องมือเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ประดิษฐ์ได้ในครั้งที่1 ตอนที่5 ประดิษฐ์เครื่องมือเก็บเกี่ยวผลไม้ครั้งที่2 ทำการพัฒนาประสิทธิภาพโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1.ด้ามจับ ให้ทำจากท่ออะลูมิเนียมเพื่อให้น้ำหนักเบา สามารถปรับระดับความสูงได้ 2.ใบมีดที่ใช้ตัดขั้วผลไม้ได้ใช้กรรไกรสปริงที่มีความคงทนมากกว่า และมีกลไกในการทำงานสอดคล้องกับด้ามจับที่สามารถปรับระดับได้ 3.ที่รองรับผลไม้ประดิษฐ์ให้สามารถประดิษฐ์ให้สามารถปิดเปิดบริเวณก้นได้ ควบคุมการปิดเปิดโดยเชือกบริเวณด้ามจับ ตอนที่6 ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือ โดยเปรียบเทียบกับเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาครั้งที่ 1และตะกร้อเก็บผลไม้ทั่วไป หลังาจากผ่านการทำงานทั้ง 6 ขั้นตอนพบว่าเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนามีประสิทธิในการทำงานดีกว่าตะกร้อที่ใช้อยู่ทั่วไป สามารถเก็บผลผลิตได้มากกว่า 2 เท่าในเวลาที่เท่ากันถึงแม้ว่าต้นทุนในการผลิตจะสูงกว่าเครื่องมือที่ขาดตามท้องตลาด แต่ก็ถือได้ว่าคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพของเครื่องมือคณะผู้จัดทำเชื่อว่าเครื่องมือเก็บเกี่ยวผลไม้ชิ้นนี้น่าจะได้รับความสนใจจากเกษตรจำนวนมาก และหากมีการนำเครื่องมือนี้เข้าสู่ระบบการค้า มีการผลิตในลักษณะอุตสาหกรรมขนาดเล็กราคาต้นทุนจะต้องลดลงใกล้เคียงกับสินค้าเดิมในท้องตลาดอย่างแน่นอน