โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องประสิทธิภาพของเส้นใยธรรมชาติต่อการดักจับไขมัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปิยะธิดา บุญณมี

  • อนวัช กล้าศึก

  • อริญชน์ ณัฐพงศ์พานิช

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • เส้นใย

  • ไขมัน การกำจัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องประสิทธิภาพของเส้นใยธรรมชาติต่อการดักจับไขมัน จัดทำขึ้นเนื่องจากการที่คณะผู้จัดทำได้สังเกตพบว่า ขณะที่ทำความสะอาดภาชนะที่บ้านและจากการประกอบอาหารพบว่ามีน้ำทิ้งที่มีไขมันปบเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำ ทำให้ท่อเกิดการอุดตันและเกิดกลิ่นอันเส้นใยธรรมชาติ5ชนิด คือ ใยใบสับปะรด ใยชานอ้อย ใยเปลือกข้าวโพด ใยกาบกล้วย และใยบวบ มาทำเป็นใส้กรอง นำไขมันผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:5 เทลงในเครื่องกรองที่มีเส้นใยต่างชนิดกัน ใช้เวลา2นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไขมัน ที่ผ่านเครื่องกรองออกมา ผลปรากฏว่า ใยเปลือกข้าวโพดสามารถดักจับไขมันได้ดีที่สุด คือ97.86% รองลงมาคือใยชานอ้อยดักจับไขมันได้ 67.46%ใยใบสับปะรดดักจับไขมันได้97.28%ใยบวบดักจับไขมันได้ 95.76%และ ใยกาบกล้วยดักจับไขมันได้น้อยที่สุดคือ 92.74% หลังจากนั้นได้ทำการทดลองเพิ่มเติม โดยนำไขมันผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:5 เทลงในเครื่องกรองที่มีเส้นใยต่างชนิดกันใช้เวลา 2 นาทีสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไขมันที่ผ่านเครื่องกรองออกมา หลังจากนั้นเทน้ำมันผสมกับน้ำในอัตราส่วนเท่าเดิมเทซ้ำ ลงไปในเครื่องกรองที่มีเส้นใยต่างชนิดกันอีก2 ครั้ง สังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไขมันที่ผ่านเครื่องกรองออกมา ผลปรากฏว่า ไส้กรองจากใยเปลือกข้าวโพดสามารถดักจับไขมันได้ประสิทธิภาพสูงสุด คือ 88.96%ไส้กรองใยชานอ้อย 78.27%ไส้กรองจากใยใบสับปะรด 74.33%ไส้กรองจากใยกาบกล้วย 62.36%และไส้กรองจากใยบวบ 52.55% ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปว่า ไส้กรองจากใยเปลือกข้าวโพดสามารถดักจับไขมันได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพียงครั้งเดียว หรือกรณีที่ใช้งานต่อเนื่องกันหลายครั้ง ส่วนค่าρHของน้ำทิ้งจากการล้างจาน มีค่าρH 10.32 เมื่อนำมากรองผ่านเครื่องกรองผลปรากฏว่า น้ำที่ผ่านไส้กรองจากใย ชานอ้อยมีค่าρH 10.15 น้ำที่ผ่านไส้กรองจากใยเปลือกข้าวโพด มีค่าρH10.12น้ำที่ผ่านไส้กรองจากใยบวบ10.10 น้ำที่ผ่านไส้กรองจากใยกาบกล้วยมีค่าρH10.05 น้ำที่ผ่านไว้กรองจากใยสับปะรดมีค่าρH9.97 และจึงได้ข้อสรุปว่า ไส้กรองใยจากใบสับปะรดสามารถปรับค่าρHได้ประสิทธิภาพสูงสุด