โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องประสิทธิภาพการดูดความชื้นของวัสดุจากธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณฐมน ไทยสุริยะ

  • ธนากร นพฤทธิ์

  • ธนิสร สวัสดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทกายภาพภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ความชื้น

  • วัสดุธรรมชาติ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการศึกษาประสิทธิภาพการดูดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อศึกษาหาวัสดุดูดความชื้นทดแทนซิลิกาเจล ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ชนิดและขนาดของวัสดุจากธรรมชาติ ชนิดและความเข้มข้นของสารช่วยดูดความชื้น และระยะเวลาในการดูดความชื้น ผลการทดลองพบว่า ชนิดและขนาดของวัสดุจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการดูดความชื้นได้ดีที่สุด คือ ไส้ของลำต้นมันสำปะหลังขนาดเล็ก รองลงมา คือ เปลือกไข่ และเปลือกหอยที่มีขนาดเล็กเช่นกัน ส่วนชนิดและความเข้มข้นของสารดูดความชื้นที่ใช้ร่วมกับไส้ของลำต้นมันสำปะหลังที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดูดความชื้นดีที่สุด คือไส้ของลำต้นมันสำปะหลังที่ร่วมกับสารละลายเกลือแกงที่ระดับความเข้มข้น 5% โดยมวลต่อปริมาตร รองลงมาคือ สารละลายน้ำขี้เถ้า น้ำแป้ง และน้ำส้มสายชูที่ระดับความเข้มข้น 5% เช่นเดียวกันเกลือแกง ขณะที่ระยะเวลาในการดูดความชื้นที่ดีที่สุด คือ เมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมง จากผลการทดลองข้างต้นจึงนำวัสดุดูดความชื้นจากธรรมชาติไปใส่ในซองอาหารแบบซิป ที่ระยะเวลา 6 ชั่วโมง ผลปรากฎว่า ลำไส้ของลำต้นมันสำปะหลังร่วมกับสารละลายเกลือแกงเข้มข้น 5% มีสิทธิภาพในการดูดความชื้นใกล้เคียงกับสารดูดความชื้นซิลิกาเจล และเมื่อนำสารดูดความชื้นดังกล่าวออกมาจากซองขนมแล้วยังสามารถนำไปอบแห้งหรือตากแดด เพื่อนำกลับมาใช้งานได้อีกหลายครั้ง ทั้งยังไม่เป็นอันตรายหากปนเปื้อนหรือสัมผัสผ่านเยื่อต่างๆภายในร่างกายอีกด้วย