โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสารละลายแอมโมเนียจากน้ำปัสสาวะ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะต้องมีการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายเป็นประจำทุกวัน และของเสียที่ออกจากร่างกายของคนเราส่วนมากมักจะมองว่าเป็นของสกปรก น่ารังเกียจ แต่เมื่อมองทางด้านวิทยาศาสตร์แล้วของเสียเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ดังจะเห็นได้จากการนำก๊าซมีเทนที่ได้จากการหมักอุจจาระของสัตว์มาใช้ในการหุงต้ม ดังนั้นในน้ำปัสสาวะที่มี NH3 ผสมอยู่ก็น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน จากการศึกษาพบว่า ก๊าซแอมโมเนียสามารถละลายในน้ำได้ดีในการทดลองจึงใช้น้ำเป็นตัวจับ NH3 ให้อยู่ในรูปของสารละลายแอมโมเนีย โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 เป็นการทดลองเบื้องต้นเพื่อพิสูจน์ว่า NH3 สามารถละลายน้ำได้หรือไม่ ผลที่ได้จากการทดลองพบว่า น้ำสามารถจับ NH3 ได้ซึ่งจะอยู่ในรูปของสารละลายแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ (NH4 OH) เป็นการทดลองที่ 2 เป็นการทดลองเพื่อหาตัวแปรต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการจับ NH3 และผลปรากฏว่า ความดัน เวลา อุณหภูมิ ระยะเวลาที่เก็บน้ำปัสสาวะระยะทางที่ก๊าซผ่านน้ำ อุณหภูมิของน้ำปัสสาวะ พื้นที่ผิวสัมผัสของก๊าซกับน้ำจะมีผลต่อปริมาณ NH3 ที่จับได้ เพื่อควบคุมปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้การจับเก็บก๊าซแอมโมเนียมีปริมาณมากเพิ่มขึ้น การทดลองที่ 3 เป็นการทดลองเพื่อเก็บสารละลายแอมโมเนียให้มีความเข้มข้นมากที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยการควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่เป็นผลจากการทดลองในการทดลองที่ 2 การทดลองที่ 4 เป็นการทดลองเพื่อนำสารละลายแอมโมเนียที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร โดยการนำสารละลายแอมโมเนียไปใช้เป็นปุ๋ย เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของพืชทางใบได้ จากการทดลองทั้ง 4 การทดลองจะได้สารละลาย NH4 OH ที่มีความเข้มข้นมากเพียงพอที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่น นำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการทำปุ๋ยเพื่อการเกษตร เป็นส่วนผสมของน้ำยาล้างกระจก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ใช้เป็นสารละลายเพื่อดมแก้เป็นลม ฯลฯ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กรรณิกา ฟุ้งเฟื่อง

  • กาญจนาพร จิตต์หาญ

  • ปฐมา ทรงคุณ

  • ปิยฉัตร โฉมจันทร์

  • มณีรัตน์ คล่องสมุทร

  • อุไร ธีรพิทยานนท์

  • เบญจมาศ รัตนสมบูรณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีภูเก็ต

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 วิทยาศาสตร์เกษตร ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2537 5 (14) p77

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ปุ๋ย

  • แอมโมเนีย

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์