โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถ่านดินพลังงานทดแทนในอนาคต
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการนำดินมาผสมกับไม้เพื่อผลิตถ่านดินที่มีประสิทธิภาพมากกว่าถ่านไม้ธรรมดา ดินที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ดินโคลน ดินเลน และดินเหนียว พบว่า ดินโคลนจะประสานกับเศษไม้ได้ง่าย และเศษไม้ให้พลังงานความร้อนดีกว่ากะลามะพร้าว และขี้เลื่อย อัตราส่วนที่เหมาะสมของเศษไม้ต่อดิน คือ3 : 1 นำมาปั้นเป็นก้อน แล้วไปตากแดดประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อนำมาศึกษาปริมาณความร้อนเปรียบเทียบกับถ่านไม้ โดยใช้ถ่านดิน และถ่านไม้ 200 กรัม เป็นเชื้อเพลิงในการต้มน้ำ 1,000 กรัม พบว่าถ่านดินให้พลังงานความร้อน 64 กิโลแคลอรี ขณะที่ถ่านไม้ให้พลังงานความร้อน 52 กิโลแคลอรี นอกจากดินโคลนแล้ว ดินซีอิ้ว ซึ่งประกอบด้วยกากถั่วเหลือง และน้ำตาล เมื่อผสมกับเศษไม้ทำเป็นถ่านดินจะให้พลังงานความร้อนมากกว่า ถ่านดินที่ทำจากดินโคลนกับเศษไม้ คือ 72 กิโลแคลอรี การเพิ่มพื้นที่ผิวของถ่านดินยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการติดไฟของถ่านดินให้ดีขึ้นอีกด้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กุลวลี จุสมใจ
ธัญพินิจ รัศมีธงชัย
สิตราภรณ์ จันทร์จรูญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขากายภาพ ภาคกลาง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์