โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเพคตินเพื่อการเกษตร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ทยาภัทร บุญเกษม
พรรณรพี ฟูนฤนารถ
โสภิดา หนูช่วย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ
เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8 (22) p69
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เพื่อให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวสามารถเก็บไว้ได้นาน สามารถระบายออกสู่ตลาดภายนอกได้มากขึ้น และเพื่อให้ผลผลิตมีราคาดีขึ้น คณะผู้ทำโครงงานจึงคิดแนวทางที่จะยืดอายุพืชผลทางการเกษตรดังกล่าว โดยจะใช้เพคตินไปเคลือบผลผลิต โดยการคัดพืชชนิดต่างๆ เช่น ผักเหรียง เปลือกส้มโอ ไปทำการทดลองโดยใช้วิธีกล ความร้อนและเคมี จากการทดลองพบว่า การใช้พลังงานเคมีมีผลทำให้ส้มโอเกิดวุ้นได้ดีที่สุด เมื่อนำเอาส่วนที่เป็นเปลือกสีขาวของส้มโอมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปต้มให้เดือดในแอลกอฮอล์ 95 % นาน 15 นาที พบว่าเป็นเวลาที่ทำให้เปลือกส้มโอเปื่อยยุ่ย จากนั้นกรองแยกเอาเปลือกส้มโอมาล้างกำจัดสารอื่นๆ ออกด้วยแอลกอฮอล์ 30% 3 ครั้ง แล้วบีบให้แห้ง จากนั้นนำมาสกัดสารเพคตินโดยนำเปลือกส้มโอที่เตรียมได้มาเติมน้ำกลั่นลงไปในอัตราส่วน 1:4 ปรับสารละลายให้เป็นกรดด้วยกรดเกลือเข้มข้น 0.5 โดยเติมเป็นอัตราส่วน กรดเกลือ 0.5 โมลาร์ 1 ส่วนต่อน้ำ 8 ส่วน ทำการสกัดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 45 นาที จากนั้นกรองแยกเอากากออกและนำไปสกัดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง สารละลายที่ได้ทิ้งให้เย็นแล้วนำมาตกตะกอนด้วยแอลกอฮอล์ 70 % จำนวน 5 ครั้ง จนไม่มีกรดเหลืออยู่ นำไปอบให้แห้งแล้วบดเป็นผง เมื่อนำผงที่ได้มาละลายน้ำ ก็จะได้เพคตินตามต้องการ จากนั้นเมื่อนำไปเคลือบผลไม้ทางการเกษตรที่เราต้องการ เพื่อเก็บรักษาพบว่าเราสามารถเก็บรักษาผลไม้ได้นาน จากการศึกษาพบว่าการสกัดวุ้นด้วยวิธีพลังงานเคมี ภายใต้เวลาที่เหมาะสมและความเข้มข้นของสารละลายที่พอเหมาะ จึงจะได้เพคตินที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปเคลือบผลผลิต เพื่อให้ผลผลิตสามารถคงความสดไว้ได้นาน