โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเตาตามตะวัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นัฐพล วิรัชกุล
สสิพงศ์ คำแก้ว
อมรเทพ ธัญญกิจ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานและพลังงานมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันพลังงานสามารถถ่ายโอนและเปลี่ยนรูปได้เช่น เปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง พลังงานแสงเปลี่ยนเป็นพลังานร้อนเป็นต้น ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดที่โลกได้รับ คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคือที่จะเก็บพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์มาใช้ให้คุ้มค่า และมีต้นทุนที่ต่ำที่สุดจึงคิดสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า"เตาตามตะวัน" แนวคิดในการสร้างเตาตามตะวันคือจากหลักการเมื่อรังสีขนานของแสงตกกระทบในแนวตั้งฉากกับฉากรับแสงรูปโค้งครึ่งวงกลม ทำให้คลื่นแสงสะท้อนมารวมกันเป็นบริเวณหนึ่งซึ่งทำให้บริเวณนั้นมีอุณภูมิสูงที่สุดจากแนวคิดนี้ทำให้คณะผู้จัดทำคิดถึงการปรับให้ฉากรับแสงเคลื่อนที่ตามควงอาทิตย์เพื่อให้รังสีของแสงอาทิตย์ตกตั้งฉากรับแสงตลอดการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์จากการทดลองเพื่อทำโครงสร้างและอุปกรณ์ประกอบเตาตามตะวันพบว่าสีของอุปกรณ์ต้องใช้สีดำขนิดด้านเพราะดูดกลืนพลังงานความร้อนได้ดีที่สุด ใช้ระบบอิเล็กโทรนิกโดยอาศัยการดูดซับพลังงาน แสงของตัวต้านทานไวแสง (Light depermdent resistor) ที่ทำหน้าที่เป็นสวิชต์ของวงจร ของมอเตอร์ทีหมุนให้ฉากรับแสงเคลื่อนที่โดยใช้ระบบเฟื่องที่เหมาะสมโดยใช้คุณสมบัติตัวต้านทานไวแสง 2 ตัวที่เมื่อรับความเข้มของที่ต่างกันพอดีที่ทำให้เกิดความต่างศักย์12โวลท์จะทำให้วงจรปิดแดละมอเตอร์จะทำงาน เมื่อฉากรับแสงเคลื่อนที่มาตั้งวฉากกับแสงของดวงอาทิตย์ทำให้ความเข้มของแสงที่ตัวต้านทานไวแสงได้รับมีความเข้มไม่ต่างกันวงจรจะเปิดมอเตอร์จะหยุดหมุนแต่ถ้าดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตามเวลาจะทำให้เงาของฉากที่กั้นระหว่างตัวต้านทานไวแสงบังแสงทำให้เกิดความเข้มแสงที่ต่างกันวงจรจะทำงานอีกครั้งหนึ่งและจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป ในการติดตั้งวงจรของความต้านไวแสงจะประกอบยด้วยตัวต้านทานไวแสง4 ตัว และมอเตอร์2 ตัว เพื่อให้ฉากรับแสงรูปโค้งหมุนได้ทุกทิศทางมีประโยชน์ในการหมุนตามดวงอาทิตย์ในทุกฤดูกาล