โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตหลังงอกของพืชด้วยแท่งเพาะเมล็ดสำเร็จรูปจากเปลือกกล้วย
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยนำเปลือกกล้วย เปลือกข้าวโพด และ ขลุยมะพร้าว ผลิตเยื่อโดยการปั่นละเอียดแล้วนำเยื่อมาผสมกันผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เป็นแท่งเพาะเมล็ดสำเร็จรูปชุดที่มีส่วนผสมของเปลือกกล้วย : เปลือกข้าวโพด : และ ขลุยมะพร้าว : แป้งมันสำปะหลัง ในอัตราส่วน 6 : 4 : 2 : 1 มีสมบัติทางกายภาพเหมาะสม อีกทั้งมีความสามารถในการดูดซับน้ำและทนต่อแรงกดได้ดี ไม่เปื่อยยุ่ยเมื่อแช่ในน้ำ มีช่องอากาศถ่ายเทได้ดีมีน้ำหนักเบา เมื่อนำแท่งเพาะเมล็ดสำเร็จรูปจากเปลือกกล้วย : เปลือกข้าวโพด : และ ขลุยมะพร้าว : แป้งมันสำปะหลัง ใน อัตราส่วน ต่างๆ ไปทดลองใช้งานในการเพาะเมล็ดบานชื่น เปรียบเทียบกับแผงเพาะเมล็ดมาตรฐานพบว่าของ เปลือกกล้วย : เปลือกข้าวโพด : และ ขลุยมะพร้าว : แป้งมันสำปะหลัง ในอัตราส่วน 6 : 4 : 2 : 1 เมล็ดสามารถงอกได้ดี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กานดา มีกุศล
การตา โม้พวง
ปภาดา ตัติมาสกุล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
พืช การเจริญเติบโต
พืชเมล็ด
สิ่งประดิษฐ์
แท่งเพาะเมล็ด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์