โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแก๊สชีวภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณแก๊สชีวภาพที่เกิดจากการหมักมูลโคร่วมกับใบยางพาราและน้ำทิ้งจากยางพาราแผ่น และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่า DO ของน้ำทิ้งจากผลิตยางพาราแผ่นก่อนและหลังผ่านกระบวนการหมักแก๊สชีวภาพ โดยติดตั้งระบบการหมักแบบไร้อากาศในระบบถังหมักปฎิกรณ์ สองขั้นตอนจำลองในห้องปฎิบัติการ ทำการป้อนวัสดุแบบกะ(fluid displacement method) อุณหภูมิ และค่า pH ทุกๆ 4 วัน และปรับค่า pH ในการหมักปฎิกรณ์ สองขั้นตอนจำลองในห้องปฎิบัติการโดยใช้น้ำขี้เถ้า ผลการศึกษาพบว่า การหมักมูลโคร่วมกับยางพาราและน้ำทิ้งจากการผลิตยางพาราแผ่น เกิดปริมาณแก๊สชีวภาพเฉลี่ยเท่ากับ 928.17 cm3 โดยมีค่า CH4 ประมาณร้อยละ 1.40 และมีค่า DO ของน้ำทิ้งจากการผลิตยางพาราแผ่นก่อนผ่านกระบวนการหมักแก๊สชีวภาพ เท่ากับ 2.1 mg/l และหลังกระบวนการหมักแก๊สชีวภาพมีค่า DO เท่ากับ 0.6 mg/l

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วิภาดา จวนประจักษ์

  • ศิริลักษณ์ มาลา

  • สุรางคนา สุทธกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย ประเภทวิทย์ชีวภาพภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • มูลสัตว์

  • สิ่งแวดล้อม

  • แก๊สชีวภาพการผลิต

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์