โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาฟิล์มบริโภคได้โดยผสมสารสกัดจากขิงเพื่อยับยั้งการเกิดโรคแอทแทรสโนสในมะม่วงน้ำดอกไม้

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการศึกษาฟิล์มบริโภคได้จากสารสกัดจากขิงเพื่อยับยั้งการเกิดโรคแอทแทรสโนสในมะม่วง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Collectotrichum gloesporioides ของสารสกัดจากขิงในตัวทำละลายที่ต่างกัน (2) เพื่อศึกษาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดจากขิงในการยับยั้งการเจริญของ C.gloesporioides (ค่า MIC) (3) เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของสารละลายฟิล์มบริโภคได้ (4) เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารละลายฟิล์มบริโภคได้ผสมสารสกัดจากขิงในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C.gloesporioides และ (5) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C.gloesporioides บนมะม่วงที่เคลือบด้วยสารละลายฟิล์มบริโภคได้ผสมสารสกัดจากขิง ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดขิงจากตัวทำละลายเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C.gloesporioides ได้ดีกว่าเฮกเซน โดยสารสกัดจากขิงที่ความเข้มข้นต่ำสุด ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา (ค่า MIC) คือ 20,000 ppm โดยสารละลายฟิล์มบริโภคได้ที่มีส่วนผสมของ น้ำ 20 ml แป้งมันสำปะหลัง 0.5g ไคโตซาน 25 µl และสารสกัดจากขิงที่มีความเข้มข้นมากกว่าค่า MIC 5 เท่า สามารถยับยั้งการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C.gloesporioides ได้ร้อยละ 60.47 และเมื่อนำฟิล์มบริโภคได้ผสมสารสกัดจากขิงมาเคลือบผิวมะม่วงน้ำดอไม้จะสามารถยับยั้งการเกิดโรคแอนแทรคโนสที่ผลมะม่วงน้ำดอกไม้ได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณัฐนิช โกศินานนท์

  • นวินดา มุสิกโปฎก

  • วีรธร ลิบสิทธิกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทกายภาพภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ขิงสารสกัด

  • มะม่วงการเกิดโรค

  • แอทแทรสโนส

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์