โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถ่านกัมมันต์จากส่วนต่างๆของตาลโตนดช่วยชะลอการสุกของผลไม้

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบมวลถ่านจากส่วนต่างๆของตาลโตนดที่เผาถ่านแบบระบบปิด เพื่อนำผงถ่านจากส่วนต่างๆของตาลโตนดมาทดสอบการดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทรายดิบ เพื่อนำถ่านจากส่วนต่างๆของตาลโตนดมากลับคุณภาพเป็นถ่านกัมมันต์ ทดสอบการดูดกลิ่นแก๊สแอมโมเนีย เพื่อนำไปใช้ช่วยชะลอการสุกของกล้วยหอมทองและละมุด ผลการศึกษาพบว่า เมล็ดตาลโตนดสุกเมื่อนำมาเผาแบบระบบปิดจะได้มวลถ่านมากที่สุด เมื่อนำมาบดและทดลองใช้ดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทราบดิบพบว่าดูดสีและกลิ่นไม่ได้ สีและกลิ่นน้ำตาลทราบดิบยังคงสภาพเดิม หากต้องการนำไปใช้ประโยชน์ต้องปรับปรุงคุณภาพเป็นถ่านกัมมันต์ พบว่าจะได้มวลถ่านลดลงเล็กน้อย เมื่อนำมาทดลองใช้ดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทราบดิบพบว่าได้ผลดีใกล้เคียงกับผงถ่านกระดูกสัตว์ที่ขายในท้องตลาด จากการทดลองนำถ่านกัมมันต์จากเมล็ดตาลโตนดและกระดูกสัตว์มาทดสอบดูดกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย พบว่า ค่า pHของสารละลายแอมโมเนียลดลงได้ดีกว่าชุดที่ไม่ได้ผ่านการดูดซับด้วยผงถ่านกัมมันต์โดยผงถ่านกัมมันต์สามารถดูดซับกลิ่นก๊าซแอมโมเนียได้ดีพอๆกับผงถ่านกัมมันต์จากกระดูกสัตว์ จึงได้ทดลองนำถ่านกัมมันต์จากเมล็ดตาลโตนดมาใส่กระดาษห่อกล้วยหอมและละมุด พบว่ากล้วยหอมและละมุดจะสุกช้ากว่ากำหนดประมาณ 2 วัน แสดงว่าถ่านกัมมันต์ช่วยชะลอการสุกของผลไม้ได้ดีพอๆกับผงถ่านกระดูกสัตว์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปิยพัทธ์ ศรีสวัสดิ์

  • ศศิธร ทิพย์มณี

  • โศรดา พรหมอินทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหาวชิราวุธ

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น เหรียญทองแดง ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ตาลโตนด การทดลอง

  • ถ่านกัมมันต์

  • ผลไม้ ชะลอการสุก

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์