โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเอทานอลและปุ๋ย EMจากเนื้อเปลือกสับปะรด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรทิปต์ ราชนิกร
นนทนง แสงประดับ
สืบศักดิ์ มุสิกะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปุ๋ย EM
สับปะรด การหมัก
สับปะรด เปลือก
เอทานอล
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อศึกษาปริมาณแป้งข้าวหมากที่เหมาะสมในการหมักเนื้อเปลือกสับปะรด ต่อน้ำ ที่จะนำมากลั่นเป็นเอทานอลให้ได้ปริมาณมากที่สุดเพื่อศึกาการนำเอทานอลที่กลั่นได้มาใช้ประโยชน์และเพื่อศึกษาลักษณะปุ๋ยEMจากกากเนื้อเปลือกสับปะรดไปฉีดพ่นกล้าไม้เปรียบเทียบกับปุ๋ยEMจากผลไม้อื่น ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาที่เหมาะสม ในการหมักเนื้อเปลือกสับปะรด คือ 4 วัน อัตราส่วนที่เหมาะสมของเนื้อเปลือกสับปะรดต่อน้ำ 800:200 และปริมาณแป้งข้าวหมากที่เหมาะสม 0.4g/ชุด เมื่อนำไปกลั่นลำดับส่วนโดยควบคุมอุณหภูมิการกลั่นที่ 78 องศาเซลเซียส จะได้ปริมาณเอทานอลมากที่สุด 36.50 cm3 วัดความเข้มข้นด้วยไฮโดรมิเตอร์ได้ 82% เอทานอลที่ได้นำมาใส่ในตะเกียงจุดไฟติดให้เปลวไฟสีส้ม ทดลองต้มน้ำ 100 cm3 เดือดภายใน 5 นาที และเป็นตัวทำลายที่ดีทดลองสกัดสีจากดอกอัญชัญ สกัดจากยาเส้น ใบสะเดา และตะไคร่หอมได้ดี