โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุป้องกันปลวก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นเรศ ปลอดทุกข์
อาจารีย์ นากสุข
เกริกเกียรติ มงคล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนินทร์ ตันพิพัฒน์
พลอยไพลิน จิตรชำนาญ
วรรณา หมุนขำ
วรวุฒิ สุขเอียด
สมจิต หมุนขำ
อรอนงค์ เวชจันทร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
วัสดุป้องกันปลวก มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวัสดุป้องกันปลวกจากน้ำยางข้นและวัสดุเสริมแรง โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น และวัสดุเหลือใช้ จากการศึกษาวัสดุเสริมแรงที่เหมาะสม ได้แก่ เส้นใยชานอ้อย เส้นใยสับปะรด ขี้เลื่อย และกระดาษลัง พบว่าขี้เลื่อยเป็นวัสดุเสริมแรงที่สามารถผลิตวัสดุป้องกันปลวกที่เหมาะสมในการอัดขึ้นรูปเป็นแผ่นมากที่สุด เนื่องจากสามารถจับตัวกันได้แน่น จึงนำขี้เลื่อยมาผสมกับน้ำยางข้นด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ 1:1 ซึ่งเมื่อเติมสารละลายซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ปริมาณ 10 กรัม จะให้ค่าความแข็ง (Shore A) อยู่ที่ 64.0 จากนั้นนำวัสดุผสมที่ผลิตได้มาทดสอบประสิทธิภาพ พบว่าวัสดุผสมที่ผลิตขึ้นสามารถตอกตะปูได้ง่าย ตะปู เยื่อกาวและลวดเย็บกระดาษยึดติดได้แน่น แผ่นวัสดุผสมไม่เหนียวเยิ้มเมื่อนำไปอบที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง มีความทนทานต่อแสงแดด ไม่ดูดซึมน้ำ ค่าความกระเด้งกระดอนมีค่าเท่ากับ 20% และค่าความแข็งเท่ากับ 64 และจากการศึกษาการกัดกินของปลวกจากวัสดุต่าง ๆ พบว่าวัสดุผสมที่ผลิตขึ้นไม่ปรากฎร่องรอยการกัดกินของปลวก เนื่องจากวัสดุผสมมีองค์ประกอบของยางและสารละลายซิงค์ออกไซด์ จากการทดลองนำไปแนวทางในการผลิตวัสดุป้องกันปลวกที่สามารถใช้งานได้จริง เช่น บอร์ด แผ่นสมาร์ทบอร์ด วัสดุปูพื้น เป็นต้น