โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการผลิตชุดทดสอบไอออนเหล็กอย่างง่าย โดยใช้ใบตะแบก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นาวสาวณัฐวดี หนักแน่น

  • ภัชรพงศ์ หนูปาน

  • วุฒิไกร ธนะเกตุสกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชนินทร์ ตันพิพัฒน์

  • วรรณา หมุนขำ

  • วรวุฒิ สุขเอียด

  • สมจิต หมุนขำ

  • อรอนงค์ เวชจันทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ใบตะแบก การทดลอง

  • ไอออน์เหล็ก การทดสอบ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตชุดทดสอบขึ้นใช้เองทดแทนการสั่งซื้อจากบริษัทเพียงอย่างเดียวและทดแทนสารเคมีที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยศึกษาชนิดของน้ำสกัดจากใบไม้ที่สามารถทำปฏิกิริยากับไอออนเหล็ก ศึกษาชนิดของสารละลายที่ทำปฏิกิริยากับน้ำสกัดจากใบตะแบก ศึกษาความเข้มข้นของสารละลายที่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำสกัดจากใบตะแบก ศึกษาน้ำสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของต้นตะแบก ศึกษาอายุของใบ ศึกษาวิธีการผลิตและประสิทธิภาพของชุดทดสอบไปออนเหล็กอย่างง่ายจากใบตะแบกพบว่าน้ำสกัดจากใบไม้ที่สามารถทำปฏิกิริยากับไอออนเหล็ก (Fe2+) ได้ดีที่สุดคือใบตะแบก ชนิดของสารละลายที่มีปฏิกิริยากับน้ำสกัดจากใบตะแบกได้ดีที่สุด คือ FeSO4 โดยความเข้มข้นของสารละลาย ที่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำสกัดจากใบตะแบกแล้วเกิดสีที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า คือ ช่วงความเข้มข้น 0.002 – 1.00 M น้ำสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของต้นตะแบกที่สามารถทำปฏิกิริยากับไอออนเหล็กได้ดีที่สุด คือ ใบ โดยใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำ และใบแก่จะทำปฏิกิริยาได้ดีสุด ส่วนการผลิตชุดทดสอบไอออนเหล็กอย่างง่ายที่อยู่ในรูปสารละลายและกระดาษทดสอบ มาทดสอบประสิทธิภาพพบว่าสามารถเปลี่ยนสีได้แตกต่างกันในความเข้มข้นของสารละลายที่ต่างกัน ซึ่งสามารถแปลผลในการหาปริมาณไปออนเหล็กอย่างง่ายได้ และสามารถใช้ทดแทนสารเคมีที่ใช้ในการเรียนการสอนในกิจกรรมการทดลอง เรื่อง การทดสอบไอร์ออน (III) ไอออน (Fe3+) ไอร์ออน (II) ไอออน (Fe2+) และไอโอดีน