โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการผลิตกระดาษ (Parchment) จากพืชท้องถิ่นโดย Acetobacter xylinium

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาการผลิตกระดาษหนัง (parchment) จากพืชท้องถิ่น โดยใช้ Acetobacter xylinum ช่วยสร้างเซลลูโลส แบ่งการทดลองเป็นดังนี้ ตอนที่1 นำ Acetobacter xylinum ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการมาเลี้ยง และแยกเชื้อให้บริสุทธิ์ เพื่อเก็บไว้ทำหัวเชื้อในการทำกระดาษหนัง (parchment) ตอนที่2 ศึกษาค่า pH และความหวานของพืชในท้องถิ่นแต่ละชนิดจำนวน 11 ชนิด พบว่าพืชที่มีค่า pH เฉลี่ยมากที่สุด คือ ผักโขม ซึ่งมีค่า pH เท่ากับ 6.73 ความหวานเฉลี่ยของพืชที่มีมากที่สุดคือ สับปะรด ซึ่งเท่ากับ 11 brix แต่ต้องปรับระดับ pH ให้เท่ากับ 3-4.5 และความหวาน เท่ากับ 11-12 brix จึงเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ Acetobacter xylinum ตอนที่3 ศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของ Acetobacter xylinum พบว่าพืชที่ให้เซลลูโลสสูงสุดคือ กะพังโหม ซึ่งความหนาของเซลลูโลสเท่ากับ 0.9 เซนติเมตร จากนั้นนำไปแปรรูปเป็นกระดาษหนัง (parchment) และทำการทดสอบแรงดึงระหว่างกระดาษหนัง (parchment) ด้วยวิธีการปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้า พบว่ากระพังโหมมีแรงดึงสูงสุด เท่ากับ1403 กรัม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ภัทรสุดา ฉายาภักดี

  • รัชมังคลา ผลค้า

  • อภิลักษมี ศรีไพรวรรณ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พัชรินทร์ รุ่งรัศมี

  • มะลิวัลย์ ศรีไพรวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสารคามพิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคตะออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กระดาษหนัง

  • พืช

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์