โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องชะลอการบูดของน้ำตาลสดด้วยพืชป่าชายเลน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชานนท์ อรุณเรืองสกุล

  • มัจฉา มิตรขุนทด

  • วิศรุต มงคลฟัก

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สมทิพย์ แขสวัสดิ์

  • อรพินท์ อินทรโฆษิต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชลบุรี "สุขบท"

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • น้ำตาลสด

  • พืชป่าชายเลน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชะลอการบูดของน้ำตาลสดด้วยพืชป่าชายเลน จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการชะลอการบูดของน้ำตาลสดด้วยพืชป่าชายเลน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาการชะลอการบูดของน้ำตาลสดด้วยเปลือกพะยอม พบว่า เปลือกพะยอมชะลอการบูดของน้ำตาลสดได้ ตอนที่ 2 ศึกษาเปรียบเปลือกไม้สดและแห้งของพืชป่าชายเลน 4 ชนิด ที่มีผลต่อการชะลอการบูดของน้ำตาลสด ได้แก่ โกงกาง แสม ตะบูน และลำพู พบว่า เปลือกไม้พืชป่าชายเลนชนิดสดชะลอการบูดของน้ำตาลสดได้ดีกว่าเปลือกไม้แห้ง และเปลือกลำพูสดชะลอการบูดได้ดีที่สุด ตอนที่ 3 ศึกษาเปรียบเนื้อไม้สดและแห้งของพืชป่าชายเลน 4 ชนิด ที่มีผลต่อการชะลอการบูดของน้ำตาลสด ได้แก่ โกงกาง แสม ตะบูน และลำพู พบว่าเนื้อไม้พืชป่าชายเลนชนิดสดชะลอการบูดของน้ำตาลสดได้ดีกว่า ตอนที่ 4 ศึกษาอัตราส่วนของเปลือกลำพูสด ที่มีผลต่อการชะลอการบูดของน้ำตาลสด พบว่า เมื่อปริมาณใส่เปลือกลำพูสดลงในกระบอกน้ำตาลสดเพิ่มขึ้น ชะลอการบูดได้ดีขึ้น ตอนที่ 5 ศึกษาการนำเปลือกลำพูสดไปชะลอการบูดของน้ำถั่วเหลืองและน้ำกะทิคั้นสด พบว่า เปลือกลำพูสดสารมารถชะลอการบูดน้ำถั่วเหลืองได้ประมาณ 8 ชั่วโมง และชะลอการบูดในน้ำกะทิคั้นสดได้ประมาณ 4 ชั่วโมง ประโยชน์จากการศึกษาทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตน้ำตาล และเป็นแนวทางเลือกหนึ่งในกระบวนการผลิตน้ำตาลนาป่า