โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดที่มีผลต่อการไล่ยุง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ทัศนีย์ อ้ายจันทึก
พลอยไพลิน สุทธาภรณ์
สุภารัตน์ ลาดจันทึก
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ดิเรก นวสุขารมย์
บุญสืบ ประสมทรัพย์
สมเกียรติ แก้ววิเวก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ยุง
สมุนไพร สารสกัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีผลต่อการไล่ยุง สมุนไพรที่ใช้ได้แก่ กระชาย กระเพราะ ขี้เหล็ก ไพร แมงลัก สะเดา สาระแหน่ หอม และใบโหระพา โดยมิวิธีการทดลองคือ นำพืชสมุนไพรมาตำให้ละเอียดแล้วแช่ในตัวทำละลาย ทิ้งไว้ 1 คืนโดยมีตัวทำละลายได้แก่ เฮกเซน และเอทานอล โดยที่กระชาย สะเดา สาระแหน่ ใช้ เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย ที่ความเข้มข้น 20 : 30 ส่วนกระเพราะ แมงลัก และหอมใช้แอลกอฮอล์อัตราส่วนความเข้มข้น 95% ไพรใช้ความเข้มข้น 85 % ส่วนขี้หล็กและโหระพา ใช้ความเข้มข้น 75 % โดยสำลีชุบน้ำคั้นสมุนไพรใส่ภายในกล่องมียุง และมีช่องให้ยุงหนี พบว่าหอมให้ประสิทธิภาพในการไล่ยุงดีที่สุด ไพร กระชาย แมงลัก ได้ประสิทธิภาพรองลงมา ส่วนขี้เหล็ก สาระแหน่ ใบกระเพราและโหระพามีประสิทธิภาพในการไล่ยุงน้อยที่สุด ประโยชน์คือเป็นแนวทางในการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน