โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาปริมาณก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักวัสดุเหลือใช้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ยศวดี มลคลเดช

  • วรรณพร แก้วลิ้มวัฒนา

  • วสินี ไขว้พันธุ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ทองดี แย้มสรวล

  • ธิดา มีแต้ม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคกลาง

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 11(30) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • การหมัก

  • ก๊าซชีวภาพ

  • วัสดุเหลือใช้

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับการหาปริมาณก๊าซชีวภาพที่ได้จากวัสดุเหลือใช้ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1. เปรียบเทียบปริมาณก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักเปลือกผลไม้ ฟางข้าว ขุยมะพร้าว เศษผัก และหญ้าแห้ง โดยนำวัสดุทั้งหมดมาหมักรวมกับมูลไก่ พบว่าเปลือกผลไม้ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพมากที่สุด รองลงมาคือ เศษผัก ฟางข้าว หญ้าแห้ง และขุยมะพร้าว 2. นำเปลือกผลไม้มาหมักรวมกับมูลสัตว์ (มูลวัว เป็ด หมู และไก่) โดยใช้ปริมาณเปลือกผลไม้และมูลสัตว์จำนวนเท่ากัน พบว่าการหมักเปลือกผลไม้กับมูลไก่ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพมากที่สุด รองลงมาคือ มูลเป็ด มูลหมู มูลวัว 3. เปรียบเทียบปริมาณก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักเปลือกผลไม้กับมูลไก่ในอุณหภูมิ ต่าง ๆ กัน (กลางแดด / ห้องเรียนปกติ / ห้องปรับอากาศ) พบว่าปริมาณก๊าซชีวภาพที่วางในอุณหภูมิสูง คือ กลางแดดมีมากที่สุด รองลงมาคือ ห้องเรียนปกติ และห้องปรับอากาศ 4. เปรียบเทียบปริมาณก๊าซชีวภาพจากการหมักเปลือกผลไม้กับมูลไก่ที่ pH4, pH7 และ pH10 พบว่า pH7 ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพมากที่สุด รองลงมาคือ pH4 และ pH10