โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของการใช้กล่องกระดาษที่ห่อด้วยกระดาษเคลือบน้ำตะโกนาต่อการยืดอายุและเก็บรักษาเงาะพันธุ์โรงเรียน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การใช้กล่องกระดาษที่ห่อด้วยกระดาษเคลือบน้ำตะโกนาต่อการยืดอายุและเก็บรักษาเงาะพันธุ์โรงเรียนเป็นโครงงานที่ศึกษาทดลองการเก็บรักษาเงาะพันธุ์โรงเรียนโดยใช้กระดาษสาเคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้นต่างๆ จากความคิดสร้างสรรค์ จึงได้นำไปห่อกล่องกระดาษเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถการรักษาคุณภาพและ ความสดของเงาะพันธุ์โรงเรียนไว้ โดยแบ่งการทดลองทั้งหมดออกเป็น 3 การทดลองหลัก การทดลองที่ 1 คือ การศึกษาคุณภาพของกล่องที่ห่อด้วยกระดาษเคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้นต่างๆกัน แบ่งออกเป็น 2 การทดลองย่อย การทดลองที่ 1.1 คือ การวัดความชื้น โดยการใช้ไฮโกรมิเตอร์วัดความชื้น เพื่อหากล่องที่มีความชื้นเหมาะสมต่อการเก็บรักษาเงาะ ซึ่งผลการศึกษาปรากฏว่ากล่องกระดาษที่ห่อด้วยกระดาษที่เคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้น 100 % มีค่าความชื้นสัมพัทธ์สูง ที่สุด การทดลองที่ 1.2 การวัดอัตราการเกิดของเชื้อรา โดย กล่องกระดาษที่ห่อด้วยกระดาษที่เคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้น 100 % และ 75 % สามารถยังยั้งเชื้อรา ได้ดีมากใกล้เคียงกัน ส่วนการทดลองที่ 2 คือ การศึกษาคุณภาพของเงาะ ที่อยู่ในกล่องเก็บรักษาเงาะห่อด้วยกกระดาษสาที่เคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้นต่างๆกัน แบ่งออกเป็น 5 การทดลองย่อย โดย การทดลองที่ 2.1 คือ การน้ำหนักที่สูญเสียของเงาะที่อยู่ในที่ห่อด้วยกระดาษสาเคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้นที่แตกต่างกัน โดยผลการทดลองปรากฏว่า เงาะที่บรรจุภายในกล่องกระดาษที่ห่อด้วยกระดาษที่เคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้น 100 และ 75% มีค่าการสูญเสียน้ำหนักน้อยที่สุด การทดลองที่ 2.2 คือ การเปลี่ยนแปลงของรสชาติและความหวานของเงาะที่อยู่ในกล่องที่ห่อด้วยกระดาษสาเคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้นที่แตกต่างกันโดยโดยใช้ Refractometer โดยผลการทดลองปรากฏออกมาว่า เงาะภายในกล่องกระดาษที่ห่อด้วยกระดาษที่เคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้น 100% , 75% และ 50% มีค่าความหวานมากที่สุด การทดลองที่ 2.3 คือ การเปลี่ยนแปลงของ ค่า pH ของเงาะที่อยู่ในกล่องที่ห่อด้วยกระดาษสาเคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ด้วย เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง ( pH meter) ตามช่วงวัน ปรากฏว่าค่า pH ของเงาะที่บรรจุในกล่องกระดาษที่ห่อด้วยกระดาษที่เคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้น 100 % ลดน้อยสุด เท่ากับ 0.68 การทดลองที่ 2.4 คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณกรดซิตริกของเงาะที่อยู่ในกล่องที่ห่อด้วยกระดาษสาเคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้นที่แตกต่างกัน โดยกระบวนการ titratable acidity, TA ซึ่งผลการทดลองปรากฏว่า เงาะที่อยู่ภายในกล่องกระดาษที่ห่อด้วยกระดาษที่เคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้น 100 % และ 75% มีปริมาณกรดซิตริกน้อยและ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก การทดลองที่ 2.5 คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของผลเงาะที่เก็บไว้ในกล่องแต่ละชุดการทดลองส่วน โดย เงาะที่อยู่ในกล่องกระดาษที่เคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้น 100% และ 75% คะแนนลดเพียงเล็กน้อย ซึ่ง ยังคงสามารถกระจายสิ้นค้าสู่ตลาด ได้ การทดลองที่ 3 ศึกษาโครงสร้างของกระดาษสาที่เคลือบน้ำตะโกด้วยความเข้มข้นแตกต่างกันภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ซึ่ง ปรากฎว่า กระดาษสาที่เคลือบน้ำตะโกในความเข้มข้น 100% และ 75% มีโครงสร้างโมเลกุลที่ยึดติดกันมากที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนกร เพชรกาฬ
นวกิจ พรหมมินทร์
วรพล ชัยชมภู
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทวิทย์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
เงาะการยืดอายุ
เงาะการเก็บรักษา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์