โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องควบคุมเพลี้ยอ่อน Aphis craccivora Koch. บนต้นถั่วฝักยาวด้วยแมลงหางหนีบ(สีดำ) และด้วงเต่าลาย Micraspis discolor (F.)

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาการควบคุมเพลี้ยอ่อน Aphis craccivora Koch. บนต้นถั่วฝักยาวด้วยแมลงหางหนีบ (สีดำ) และด้วงเต่าลาย Micraspis discolor (F.) พบว่าตัวห้ำทั้ง 2 ชนิด สามารถกัดกินเพลี้ยอ่อน Aphis craccivora Koch. ได้ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยแมลงหางหนีบ(สีดำ) จะกินเพลี้ยอ่อนชนิดนี้ได้น้อยกว่าด้วงเต่าลาย ซึ่งในการทดลองในห้องปฏิบัติการตัวห้ำทั้ง 2 ชนิด สามารถควบคุมเพลี้ยอ่อนได้ โดยทำให้เพลี้ยอ่อนไม่เกิดการระบาด แต่ในสภาพจริงพบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมให้ผลแตกต่างกันน้อยมาก เนื่องจากมีตัวห้ำจากธรรมชาติเข้ามาช่วยควบคุมเพลี้ยอ่อนชนิดนี้ด้วย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปุริมพิชญ์ จันทสี

  • รัตนโชติ มะลิซ้อน

  • อนุชา ทิยาเวช

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชายิกา อุดมพันธ์

  • นิรันดร์ เหลืองสวรรค์

  • สุริยา โก้พิมาย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ด้วงเต่าลาย

  • เพลี้ยอ่อน การควบคุม

  • แมลงหางหนีบ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์