โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องโฟมยางจากแกนข้าวโพด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ขนิษฐา คงอินทร์
จินต์จุฑา พงษ์สิงห์
รพีพร จิตต์ใจฉ่ำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จารุวรรณ จงทอง
รัชนี เขียวเงิน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ภาคเหนือตอนล่าง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการนำเอาแกนข้าวโพดมาทำเป็นโฟมยาง โดยมีวิธีการศึกษา ดังนี้ 1.ศึกษาพันธุ์ข้าวโพด ข้าวโพดพันธุ์สวิตเหมาะสำหรับการทำโฟมยางมากกว่าพันธุ์ข้าวเหนียว เนื่องจากสามารถยุ่ยเป็นเนื้อละเอียดได้ง่ายและมีผิวนุ่ม 2.ศึกษาสารที่ช่วยในการยึดเกาะแกนข้าวโพด พบว่ากาวลาเท็กซ์เหมาะสมมากกว่าก้าวแป้งเปียก เนื่องจากโฟมยางที่ดีต้องมีความเหนียว มีน้ำหนักเบาและมีความยืดหยุ่น 3.ศึกษาวัสดุที่สามารถเสริมเส้นใยความเหนียวของข้าวโพด พบว่าไหมข้าวโพดเหมาะสมมากกว่าขุยมะพร้าวแห้ง เพราะสามารถเสริมความเหนียวได้ดี 4.ศึกษาอัตราส่วนของแกนข้าวโพดและวัสดุอื่นที่ใช้ทำโฟมยางจากแกนข้าวโพด พบว่าอัตราส่วนที่ดีที่สุดคือแกนข้าวโพด 5 ส่วน : ไหมข้าวโพด 3 ส่วน : กาวลาเท็กซ์ 2 ส่วน : สีผสมอาหาร 1 ส่วน โฟมยางที่ได้จะมีความยืดหยุ่น ผิวเรียบและน้ำหนักเบา 5.ศึกษาผลิตภัณฑ์ พบว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีราคาถูกและคุณภาพใกล้เคียงกับท้องตลาด โดยทดสอบจากความแข็งแรงและความยืดหยุ่น