โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องความหลากหลายของนกในพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ระหว่างเดือนพฤจิกายน 2556 มกราคม 2557
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บัลกิส มูดอ
แสงสน ฤทธิบูรณ์
โซเฟีย เฮงตาแกะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทชีวภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
นก
นกสายพันธุ์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาทำโครงงานในครั้งนี้เป็นการศึกษาความหลากหลายชนิดและปริมาณของนกในพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ขั้นแรกเป็นการสุ่มเลือกพื้นที่เพื่อวางแนวเส้นสำรวจ (Line transect) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เส้นทาง คือ ถนนซอยสาธิต ถนนเลียบคลองสหัสวรรษ และถนนเส้นทางสำรวจธรรมชาติ แต่ละเส้นทางมีระยะทางประมาณ 600 เมตร โดยจะทำการสำรวจทุก 2 สัปดาห์ ตั้งแต่ 16.00-18.00 น. เป็นระยะเวลา 3 เดือน จะสามารถทำการสำรวจได้ทั้งหมด 6 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดการสำรวจได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าในบริเวณมหาวิทยาลัย มีนกทั้งหมด 58 ชนิด แยกตามหลักอนุกรมวิธานได้ 8 อันดับ (Order) 23 วงศ์ (Family) โดยทั้ง 3 เส้นทางพบว่านกกาน้ำเล็ก (Phalacrocorax niger) และนกเอี้ยงสาลิกา (Acridotheres tristis) มีความชุกชุมมากที่สุด รองลงมาคือนกเขาใหญ่ (Streptopelia chinensis) และนกยางควาย (Bubulcus ibis) เมื่อพิจารณาจำนวนชนิดของนกพบว่าเส้นทางที่ 1 และเส้นทางที่ 3 มีจำนวยนชนิดใกล้เคียงกัน คือ 33 และ 35 ชนิด ตามลำดับ โดยเส้นทางที่ 2 พบเพียง 23 ชนิดเท่านั้น เมื่อพิจารณาจำนวนครั้งที่พบนก พบว่าเส้นทางที่ 3 มีจำนวนครั้งที่พบมากที่สุดคือ 3,264 ครั้ง สำหรับเส้นทางที่ 1 และ 2 พบว่าใกล้เคียงกัน คือ 238 และ 364 ครั้ง และเมื่อพิจารณาสถานภาพนกของนกที่พบ จะสามารถแบ่งได้ 3 สถานภาพ คือ นกประจำถิ่น นกอพยพ และนกอพยพผ่าน