โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการจัดจำแนกและศึกษาความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพของแบคทีเรียที่ย่อยพลาสติกชนิด LLDPE

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

พลาสติกชนิด Linear Low Density Polyethylene (LLDPE) มีความคงทนสูงมีอัตราการย่อยสลายในธรรมชาติที่ต่ำมากโดยใช้เวลา 15-1,000 ปี ทำให้เป็นสาเหตุในการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายทางชีวภาพของลาสติก LLDPE โดยใช้แบคทีเรีย และการทำลายโครงสร้างของ LLDPE โดยใช้แสง UV คัดแยกเชื้อแบคทีเรียจากกลุ่มของแบคทีเรียจากโครงงานการคัดแยกเชื้อแบคทีเรียเพื่อย่อยสลายพลาสติกชนิด LLDPE ใช้แผ่นฟิล์ม LLDPE ขนาด 8x1 cm^2 หนา 0.18±0.04 mm ผ่าน UV เป็นเวลา 72 120 และ 240 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่าโครงสร้างภายในแผ่นฟิล์มไม่เปลี่ยนแปลง ทดสอบโดยเทคนิค Fourier Transform Infrared (FTIR) เนื่องจากแผ่นฟิล์มหนาเกินไป ความเข้มแสง UV และระยเวลาที่ใช้ไม่เพียงพอต่อการสลายโครงสร้าง นำแผ่นฟิล์ม LLDPE ที่ผ่าน UV เป็นเวลา 240 ชั่วโมง ศึกษาการย่อยสลายทางชีวภาพโดยใช้แบคทีเรีย 4 ไอโซเลต และ โอไซเลตผสม บ่มเป็นเวลา 2 และ 4 เดือน ผลการศึกษาการเติบโตของแบคทีเรียโดยบ่มเป็นเวลา 2 และ 4 เดือน พบว่าอัตราการเติบโตของแบคทีเรียลงลดในเดือนที่ 2 เนื่องจากสารอาหารในฟลาก์หมดและอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นในเดือนที่ 4 เนื่องจากการเปลี่ยนอาหาร ผลจากการเลี้ยงเชื้อครบ 2 และ 4 เดือน พบว่าน้ำหนักของแผ่นฟิล์มก่อนและหลังบ่มไม่เปลี่ยนแปลง แต่โครงสร้างภายในเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยหลังการบ่ม 2 เดือน จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FTIR การศึกษาโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงของแผ่นฟิล์มด้วยเครื่อง Accelerated Weathering testing เป็นเวลา 7 14 และ 21 วัน พบว่ามีโครงสร้างภายในเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ด้วยเทคนิค FTIR จากการจัดจำแนกแบคทีเรียทั้ง 4 isolate โดยแทคนิคการหาลำดับเบส 16sRNA พบว่าเป็นชนิด Alcaligenes sp., Bacillus cereus และ Klebsiella pneunoniae

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พิชญา ปรียาวงศากุล

  • ฟิตรีนา นาถปุตรี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • พลาสติกการย่อยสลาย

  • แบคทีเรีย

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์