โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการปรับลดระดับความเค็มของน้ำทะเลที่ต่างกันต่ออัตราการรอดของหอยหวาน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นลพรรณ พิทักษ์สาลี

  • นิอิกรอม สาแล

  • น้ำฝน เอกศิรินิมิตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชินวัฒน์ พิทักษ์สาลี

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชมนา จักรอารี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • น้ำทะเลการวัดระดับ

  • หอยหวานการเจริญเติบโต

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การทำโครงงานครั้งนี้เป็นการศึกษาการปรับลดระดับความเค็มของน้ำทะเลที่ต่างกันต่ออัตรารอดของหอยหวาน ซึ่งแบ่งการทดลองเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาการลดความเค็มของน้ำทะเลแบบเฉียบพลันต่ออัครารอดของหอยหวาน แบ่งเป็น 6 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ชุดการทดลองที่ 1 เลี้ยงหอยหวานในน้ำทะเลที่มีระดับความเค็ม 30 ppt ชุดการทดลองที่ 2 เลี้ยงหอยที่ระดับความเค็ม 25 ppt ชุดการทดลองที่ 3 เลี้ยงหอยในน้ำทะเลที่มีระดับความเค็ม 20 ppt ชุดการทดลองที่ 4 เลี้ยงหอยในน้ำทะเลที่มีระดับความเค็ม 15 ppt ชุดการทดลองที่ 5 เลี้ยงหอยในน้ำทะเลที่มีระดับความเค็ม 10 ppt และชุดการทดลองที่ 6 เลี้ยงหอยในน้ำทะเลที่มีระดับความเค็ม 5 ppt เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าหอยที่เลี้ยงในน้ำทะเลระดับความเค็ม 30 ppt และ 25 ppt มีอัตราการรอดสูงสุด 96.70% ที่ระดับความเค็ม 20 ppt มีอัตราการรอด 76.70% ที่ระดับความเค็ม 15 ppt, 10 ppt และ 5 ppt มีอัตรารอดเป็น 0% เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าอัตราการรอดของหอยหวายที่ระดับความเค็ม 30 ppt และ 25 ppt ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่อัตราการรอดของหอยหวานที่ระดับความเค็ม 20 ppt แตกต่างกับการรอดของหอยหวานที่ระดับความเค็ม 30 ppt และ 25 ppt อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง(p<0.01) ที่ระดับความเค็ม 15, 10 และ 5 ppt มีอัตราการรอดของหอยเป็น 0 มีความแตกต่างกับอัตราการรอดที่ระดับความเค็ม 30 ppt, 25 ppt, และ 20 ppt อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง(p<0.01) ตอนที่ 2 ศึกษาการลดความเค็มของน้ำทะเลแบบปรับลดความเค็มต่อการรอดของหอยหวาน แบ่งเป็น 6 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ แต่ละชุดการทดลองมีความเค็มเช่นเดียวการทดลองที่ 1 โดยปรับลดความเค็มของน้ำทะเลวันละ 3 ppt (ยกเว้นชุดควบคุม 3 ppt)จนถึงระดับที่กำหนดของแต่ละชุดการทดลอง เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าที่ระดับความเค็ม 30 ppt, 25 ppt, 20 ppt และ 15 ppt มีอัตราการรอดของหอยสูงที่สุด 100% ที่ระดับความเค็ม 10 ppt มีอัตราการรอด 40% และที่ระดับความเค็ม 5 ppt มีอัตราการรอด เป็น 0% เมื่อทอสอบทางสถิติพบว่าอัตราการรอดขอบหอยหวานที่ระดับความเค็ม 30 ppt, 25 ppt, 20 ppt และ 15 ppt ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างกับอัตราการรอดของหอยหวานที่ 10 ppt และ 5 ppt อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง(p<0.01) ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า หอยหวานสามารถทนความเค็มได้ในช่วงกว้างตั้งแต่ 10-30 ppt โดยการปรับลดความเค็มครั้งละ 3 ppt ทำให้หอยมีอัตราการรอดสูงและสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าการลดเค็มแบบเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05)