โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพวัสดุดูดความชื้นจากไส้มันสำปะหลัง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของไส้มันสำปะหลัง เพื่อหาและเปรียบเทียบอัตราการดูดความชื้นของไส้มันสำปะหลังกับวัสดุดูดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติ ซิลิกาเจล และดินดูดความชื้น เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งการขึ้นราของไส้มันสำปะหลังที่แช่ในสารสกัดจากเปลือกมังคุด และเพื่อหาอัตราส่วนของมวลไส้มันสำปะหลังต่อปริมาตรของกล่องบรรจุที่เหมาะสม ผลการทดลงพบว่า 1. โครงสร้างของไส้มันสำปะหลังเป็นเนื้อเยื่อพาเรนไคมาที่ภายในเซลล์และระหว่างเซลล์เป็นช่องว่างจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนที่ดูดน้ำหรือความชื้นไปเก็บไว้ 2. ไส้มันสำปะหลังที่ความหนา 2 มิลลิเมตร ร้อยละ 39 และความหนา 8 มิลลิเมตร ร้อยละ 33 ตามลำดับ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับวัสดุดูดความชื้นที่เป็นวัสดุธรรมชาติ พบว่าไส้มันสำปะหลังมีอัตราการดูดความชื้นมากกว่าข้าวคั่ว คือ ร้อยละ 39 แกลบ ร้อยละ 8 และถ่านไม้ ร้อยละ 4 และเมื่อเปรียบเทียบกับซิลิกาเจล พบว่าไส้มันสำปะหลังมีอัตราการดูดความชื้นมากกว่า คือ ร้อยละ 38 แต่น้อยกว่าดินดูดความชื้น คือ ร้อยละ 68 3. ไส้มันสำปะหลังที่แช่สารสกัดจากเปลือกมังคุดเป็นเวลา 2 วัน มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการขึ้นราได้ดีเท่ากับประเภทที่แช่ในสารละลายโซเดียมโปรปิโอเนตที่มีความเข้มข้น 0.1 0.2 และ 0.3 โดยมวล คือ ผ่านไป 60 วันยังไม่ขึ้นรา และมีอัตราการดูดความชื้นร้อยละ 42 ซึ่งดีกว่าที่แช่ในสารละลายโซเดียมโปรปิโอเนตที่มีอัตราการดูดความชื้นร้อยละ 36 4. อัตราส่วนของมวลไส้มันสำปะหลังต่อปริมาตรของกล่องบรรจุที่เหมาะสม คือ ไส้มันสำปะหลังที่มีมวล 1.0-2.0 กรัมต่อปริมาตรกล่องบรรจุ 1,680 ลูกบาศก์เซนติเมตร กล่าวคือ ผ่านไป 4 สัปดาห์ มีการเพิ่มขึ้นของมวลไส้มันสำปะหลังน้อย คือ ร้อยละ 29.5-33 การเพิ่มขึ้นของมวลขนมน้อย คือ ร้อยละ 1-2 และขนมไม่เยิ้มแฝละยังคงมีความกรอบ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยฉัตร เสียมไหม
สุภัสสรา หนูบูรณ์
ไพลิน อินทร์เพชร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สิรินาถ ชุมพาที
ไมตรี สุดเรือง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญทองแดง ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
มันสำปะหลัง การทดลอง
มันสำปะหลัง แกน
วัสดุ ดูดความชื้น
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์