โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผักคราดหัวแหวนกำจัดลูกน้ำ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
คณะผู้จัดทำเห็นว่า ในบริเวณบ้านของข้าพเจ้า มีสถานที่ที่มีน้ำขังอยู่หลายบริเวณ เช่นในแจกัน ในภาชนะเก่าๆ ที่ทิ้งแล้ว เป็นต้นทำให้ยุงมาวางไข่ เกิดเป็นลูกน้ำ และกลายเป็นยุงซึ่งจะเป็นพาหะนำโรคต่างๆผู้จัดทำอยากจะฆ่าลูกน้ำให้ตายโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านซึ่งไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์เหมือนกับทรายอเบส จากการค้นคว้าพบว่าผักคราดหัวแหวน เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาชาในทางการแพทย์ และไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ ดังนั้นจึงเปิดแนวทางการทดลองขึ้น 3 การทดลอง คือ "สารละลายผักคราดหัวแหวนมีผลทำให้ลูกน้ำตายเทียบเท่าสารอะเบส" การทดลองที่ 2 "ความเข้มข้นของสารละลายผักคราดหัวแหวนที่ต่างกัน น่าจะมีผลทำให้จำนวนลูกน้ำที่ตายแตกต่างกัน ภายในระยะเวลาที่ต่างกัน" การทดลองที่ 3 "ส่วนต่างๆของผักคราดหัวแหวน น่าจะมีผลทำใหจำนวนลูกน้ำตายแตกต่างกันภายในระยะเวลาที่เท่ากัน" การทดลองที่ 4 สารละลายผักคราดหัวแหวน ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อพืชหลังจากการทดลองแล้วจึงพบว่าสารละลายผักคราดหัวแหวนที่ใช้ดีที่สุดคือ 100% รองลงมา 50%ส่วนของผักคราดหัวแหวนเมื่อนำมาตำเป็นสารละลายแล้วส่วนที่ใช้ได้ดีที่สุดคือ ส่วนของดอก รองลงมาเป็นส่วนของใบ และรองลงมาเป็นส่วนของลำต้น และสารละลายผักคราดหัวแหวนไม่มีผลกระทบต่อพืช โดยแต่ละการทดลองนี้จะเปรียบเทียบกับทรายอะเบส
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนพล ชุมนาค
เฉลิมเกียรติ สุขเอียด
เเด็กชายสมเกียรติ เจียรนัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคใต้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์