โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสารอาหารชีวภาพจากพืชสู่พืช
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ที่อำเภอแม่สอดและอำเภอใกล้เคียงมีการปลูกผักกาดขาวกันมาก จึงคิดนำเอาเศษผักกาดขาวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวมาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยแบ่งการทดลองเป็น 3 ตอนดังนี้ ตอนที่1ทดสอบความสามารถในการย่อยสลายของสารอินทรีย์ด้วยตัวเร่งทางชีวภาพ โดยนำเศษผักกาดขาว เปลือกสับปะรด ใบมะละกอมาสับให้ละเอียด แบ่งการทดลองเป็น 4 กลุ่ม ถังที่ 1 นำเศษผักกาดขาวที่สับละเอียดผสมกับเปลือกสับปะรดสับละเอียด และมูลไก่ ในอัตราส่วน 5 กิโลกรัม :1กิโลกรัม :1กิโลกรัม ตามลำดับ ถังที่2 นำเศษผักกาดขาวที่สับละเอียดผสมกับใบมะละกอสับละเอียด และมูลไก่ ในอัตราส่วน 5 กิโลกรัม :1 กิโลกรัม:1 กิโลกรัม ตามลำดับ ถังที่ 3 นำเศษผักกาดขาวที่สับละเอียดผสมกับยีสต์และมูลไก่ในอัตราส่วน 5 กิโลกรัม :1 กิโลกรัม :0.3 กิโลกรัม โดยแต่ละถังเติมน้ำกลั่น 1.5 ลิตร คลุกให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท และถังที่ 4 นำเศษผักกาดขาวใส่ในภาชนะเปิด ทิ้งให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ หมักทิ้งไว้ 15 วัน จากการทดลองพบว่า การย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยเปลือกสับปะรด ในถังที่ 1จะใช้เวลาในการย่อยน้อยที่สุด ตอนที่ 2 ศึกษาการระเหยน้ำ โดยนำสารอาหารชีวภาพที่ผ่านกระบวนการหมักจากตอนที่ 1 มาบรรจุใส่ในแม่พิมพ์ นำไปตากแดด 3 วัน พบว่าได้สารอาหารชีวภาพที่อยู่ในรูปของแข็งสะดวกแก่การใช้งาน ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพืช 3 กลุ่มที่ได้รับสารอาหารจากดินร่วน ดินร่วนผสมปุ๋ยคอก และดินร่วนผสมสารอาหารชีวภาพ โดยปลูกผักกาดขาว เป็นเวลา 15 วัน พบว่า ต้นผักกาดขาวที่ปลูกด้วยดินร่วนผสมสารอาหารชีวภาพเจริญเติบโตดีที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กนกรัตน์ พลานุภาพ
วิทยดา แซ่เกอ
เลิฟวิง ลังกาวงค์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กัลยา ประทีป ณ ถลาง
ชัยสวัสดิ์ ทองประวิทย์
ประดับ เดือนจันทร์ฉาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์