โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องปริมาณของน้ำชาเขียวที่มีผลต่อการแข็งตัวของยางกุหลาบในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ขวัญชัย ชินวิชานาม
พีรวิชญ์ ศิริพันธ์
ภานุพงศ์ อำไพชัยโชค
ศรัณย์ อุดมรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อนิรุธ พรหมเจริญ
อิสรียา สันติวงศ์สถิต
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กุหลาบการเพาะ
น้ำชาเขียว
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาสารคาเทซิน ฟอลิฟีนอล ในน้ำชาเขียว พบว่า น้ำยางที่อุดตันในมัดท่อลำเลียงของกุหลาบถูกกำจัดออกหมด คือ น้ำยางกุหลาบถูกสารคาเทชิน ฟอลิฟินอลแย่งทำปฏิกิริยากับออกซิเจน จนหมดจึงส่งผลให้น้ำยางไม่แข็งตัว และยังพบว่าสารคาเทชินฟอลิฟีนอล มีคุณสมบัติทนความร้อนและความดันของการนึ่งฆ่าเชื้อได้ การทดลองถูกออกแบบโดยต้มน้ำชาเขียวจากใบชาเขียวแห้ง และนำมาผสมในวุ้นอาหาร ในปริมาณที่แตกต่างกันและนำมาทอลองใช้กับกุหลาบมอญ ซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็ว ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ยางที่อุดตันในมัดท่อลำเลียงหมดไป และกุหลาบเจริญเติบโตได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เติมน้ำชาเขียวและจากการเปรียบเทียบน้ำหนักของทั้ง 2 กลุ่มทดลองได้ว่ามีความแตกต่างกัน