โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องปูนซีเมนต์จากเปลือกหอย ขี้เถ้าแกลบ และดินเหนียว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐภัทร ราตรีประสาทสุข
นภพร แต่สุวรรณ์
อธิวรรธน์ กรีแสง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐานียา ว่องวิญญู
วนิดา ปานสมบัติ
สุรางค์ ประทุมโทน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ดินเหนียว
ปูนซีเมนต์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการผลิตปูนซีเมนต์แบบประหยัดที่ใช้ในการก่อสร้างบางประเภท โดยการนำวัสดุเหลือทิ้ง หรือมีมากในธรรมชาติ เช่นเปลือกหอย ขี้เถ้าแกลบ และดินเหนียวมาผสมกับปูนซีเมนต์มาตรฐาน ในอัตราส่วนระหว่าง ปูนซีเมนต์มาตรฐาน : เปลือกหอย : ขี้เถ้าแกลบ : ดินเหนียว เท่ากับ 45 : 5 : 9 : 5 เรียกว่าปูนซีเมนต์ผสม โดยการนำเทคนิคและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่นการชั่ง ตวง วัด การระเหย การเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสโดยการบดให้เป็นผงละเอียด การใช้วัสดุประสาน การเกิดปฏิกิริยาเคมี มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ และได้มีการตรวจสอบคุณภาพโดยการชั่งมวล ระยะเวลาการแข็งตัว ความทนทานต่อแรงอัดไฮโดรลิค ทนต่อสารละลายกรด-เบส กระแสน้ำ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ พบว่าปูนซีเมนต์ที่ผลิตขึ้นมีสมบัติใกล้เคียงกับปูนซีเมนต์มาตรฐาน แต่มีข้อจำกัดบางประการในการใช้งานที่ต้องแบกรับน้ำหนักมาก หรือบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลผ่านตลอดเวลา และเมื่อคิดราคาต่อถุงพบว่าถูกกว่าปูนซีเมนต์มาตรฐานร้อยละ 29.70