โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาอัตราการอยู่รอดของกุ้งฝอยและการเพิ่มน้ำหนักของกุ้งฝอยด้วยอาหารต่างๆ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณฐพล ปัญสุรินทร์
ณัฐดนย์ ธัญวงศ์
วิภูวนัตย์ ภักดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กุ้งฝอยการศึกษา
สัตว์น้ำจืดกุ้งฝอย
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาอัตราการอยู่รอดของกุ้งฝอยและการเพิ่มน้ำหนักของกุ้งฝอยด้วยอาหารต่างๆ กุ้งฝอยเป็นสัตว์น้ำจืดที่เป็นอาหารของชาวบ้านมาช้านาน ปัจจุบันคนทั่วไปหันมานิยมรับประทานและขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ การดักจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือเลี้ยงในบ่อเลี้ยงธรรมดา จึงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จนทำให้ราคากุ้งฝอยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงน่าทดลองศึกษาสภาพธรรมชาติที่กุ้งฝอยชอบอาศัยอยู่ และศึกษาการตอบสนองต่อสีหรือแสงสีที่กุ้งฝอยชอบเพื่อนำไปปรับสภาพน้ำให้ดีกว่าน้ำธรรมชาติและภายใต้สีที่กุ้งฝอยชอบ แล้วเลี้ยงกุ้งฝอยด้วยอาหารที่แตกต่างกัน 4 ชนิดเพื่อเปรียบเทียบอัตราการอยู่รอดและน้ำหนักเพิ่มของกุ้งฝอย ผลการทดลองศึกษาพบว่ากุ้งฝอยชอบอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งที่มีค่า DO 4.0-5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า pH 7.00-8.00 ค่าอุณหภูมิ 30.0 องศาเซียลเซียส ค่าความขุ่น 50.000-70.000 หน่วย (FTU) และกุ้งฝอยตอบสนองหรือชอบสีเหลืองมากที่สุด เมื่อปรับสภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงให้มีค่า DO 8.0-9.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า pH 7.00-7.30 ค่าอุณหภูมิ 25.0-28.5 องศาเซียลเซียส ค่าความขุ่น 0.900-1.200 หน่วย (FTU) และเลี้ยงกุ้งฝอยภายใต้บรรยากาศสีเหลือง จากนั้นเลี้ยงด้วยอาหาร 4 ชนิด พบว่ากุ้งฝอยที่เลี้ยงด้วยไรแดงมีอัตราการอยู่รอดสูงสุดคือร้อยละ 60.00 รองลงมาได้แก่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปคือร้อยละ 51.25 สาหร่ายสไปรูริน่าร้อยละ 50.63 และรำร้อยละ 32.50 อีกทั้งกุ้งฝอยที่เลี้ยงด้วยไรแดงมีน้ำหนักเพิ่มมากที่สุดคือร้อยละ 41.80 มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงที่สุดคือ 0.0120 กรัมต่อตัวต่อวัน รองลงมาได้แก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปร้อยละ 28.02 อัตราการเจริญเติบโตต่อวันคือ 0.0080 กรัมต่อตัวต่อวัน ส่วนสาหร่ายสไปรูริน่าและรำเท่าๆกันคือร้อยละ 15.09 อัตราการเจริญเติบโตต่อวันคือ 0.0043 กรัมต่อตัวต่อวัน ผลการทดลองครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจใช้เป็นข้อมูลในการปรับสภาพการเลี้ยงกุ้งฝอยให้เป็นไปตามสภาพที่กุ้งฝอยชอบมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอัตราการอยู่รอดและเพิ่มน้ำหนักให้กับกุ้งฝอย เมื่อสภาพการเลี้ยงเหมาะสมกุ้งฝอยมีอัตราการอยู่รอดสูงและมีน้ำหนักเพิ่มมากก็จะส่งผลดีในแง่เป็นการเพิ่มด้านปริมาณของกุ้งฝอย ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และการเลี้ยงกุ้งฝอยในสภาพน้ำที่ดีกว่าน้ำในแหล่งธรรมชาติ ภายใต้บรรยากาศและอาหารที่กุ้งฝอยชอบ จะทำให้กุ้งฝอยได้รับสารอาหารครบถ้วนก็จะส่งผลดีในแง่เป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับกุ้งฝอย นับว่าได้ผลทั้งในเชิงเศรษฐกิจและโภชนาการพร้อมๆ กัน