โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องพื้นผิวของผนังห้องเก็บเสียง ที่มีผลต่อความสามารถดูดซับเสียง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณิชารีย์ มั่นคงพิทักษ์กุล

  • ปภาวรินทร์ วงศ์แสงขำ

  • อาทิมา นวลแสง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พสงค์ แรงสิงห์

  • สุกฤษฎิ์ จรจะนะ

  • อมรรัตน์ เจริญมาก

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • พื้นผิว ผลกระทบ

  • เสียง การดูดซับ

  • เสียง ผลกระทบ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องพื้นผิวของผนังห้องเก็บเสียง ที่มีผลต่อความสามารถดูดซับเสียง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับเสียงของพื้นผิวลักษณะต่าง ๆ อันได้แก่ พื้นผิวเรียบ พื้นผิวทรงกลมนูน พื้นผิวหลุมทรงกลม และพื้นผิวปริซึมฐานสามเหลี่ยมนูน ซึ่งจำลองโดยโฟม แล้วนำมาทดลองโดยปล่อยเสียงดังผ่านชุดจำลองทางเดินของเสียงที่ได้ประดิษฐ์ไว้ แล้วเปรียบเทียบค่าความดังของเสียงที่ถูกปล่อยออกมาหลังจากตกกระทบพื้นผิวต่าง ๆ พบว่าพื้นผิวที่สามารถดูดซับเสียงได้ดีจากมากไปหาน้อย คือ พื้นผิวทรงกลมนูน พื้นผิวหลุมทรงกลม พื้นผิวปริซึมฐานสามเหลี่ยมนูน และพื้นผิวเรียบ จากนั้นกำหนดค่าตัวแปรใหม่ เพื่อศึกษาความสามารถในการดูดซับเสียงของผนังห้องเก็บเสียงในแต่ละระยะห่างของแต่ละพื้นผิว อันได้แก่ 1 เท่า 2 เท่า และ 3 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลาง พบว่าระยะที่สามารถดูดซับเสียงได้ดีจากมากไปหาน้อย คือ 2 เท่า 1 เท่า และ 3 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลาง จาก 2 การทดลองดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า พื้นผิวที่สามารถดูดซับเสียงได้ดีที่สุด คือ พื้นผิวทรงกลมนูน ที่มีระยะห่างระหว่างพื้นผิว 2 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง